หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » มยุรฉัตร ผิวอ่อนดี
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
การประยุกต์ใช้อิทธิบาท ๔ ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของบ้านดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
ชื่อผู้วิจัย : มยุรฉัตร ผิวอ่อนดี ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกวิทอรรถวาที
  พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพสังคม และเศรษฐกิจของชุมชนบ้านดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้อิทธิบาท ๔ ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของบ้านดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ๓) เพื่อศึกษาผลสำเร็จของการประยุกต์ใช้  อิทธิบาท ๔ ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของบ้านดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่   

งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) ใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลที่มีอยู่ในระเบียบวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการประยุกต์ใช้อิทธิบาท ๔ ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของบ้านดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ จำนวน ๘๐ คน และแบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน จำนวน ๘ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลจากการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้นำชุมชนตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

ผลการวิจัยพบว่า

สภาพสังคม และเศรษฐกิจของชุมชนบ้านดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ มีลักษณะเป็นชุมชนที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป รับราชการและรัฐวิสาหกิจ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ ก่อให้เกิดความรักใคร่ สามัคคี       กลมเกลียวกัน นอกจากนี้ประชาชนในตำบลทุกคนก็ยังมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มีรูปแบบการปกครองโดยองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมูล ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายบริหาร  และฝ่ายสภา

ในด้านเศรษฐกิจนั้นประชาชนประกอบอาชีพผลิตเฟอร์นิเจอร์ ค้าขาย ทำการเกษตรกรรม ผลิตเครื่องจักรสาน ข้าราชการ รับจ้างทั่วไป ส่วนด้านประเพณีและวัฒนธรรมนั้นส่วนมากจะเป็นวิถีชีวิตที่ได้ปฏิบัติกันมาอย่างช้านานที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันเมื่อประชาชนได้รับความทุกข์กายและทุกข์ใจซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาพุทธ ซึ่งมีพระสงฆ์เป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณในการช่วยขจัดปัดเป่าให้เกิดความสุข ความสบายใจ และได้อาศัยประเพณีเหล่านี้เป็นเครื่องช่วยในการกำจัดทุกข์ได้แก่ พิธีสืบชะตา พิธีการส่งเคราะห์ พิธีตานตุงแดงพิธีบูชาเทียนพิธีบายศรีสู่ขวัญพิธีเลี้ยงผีปู่ผีย่า ประเพณีปี๋ใหม่เมืองประเพณีกิ๋นสลากประเพณีลอยกระทง

การประยุกต์ใช้อิทธิบาท ๔ ในการเสริมสร้างทางเศรษฐกิจของบ้านดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=๔.๔๕) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าประชาชนบ้านดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่มีการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔  ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจด้านฉันทะ อยู่ในระดับมากที่สุด คือ (=๔.๕๑) นอกนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อโดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านวิมังสา (=๔.๔๕) ด้านจิตตะ (=๔.๔๔) และด้านวิริยะ (=๔.๔๑)

             ผลสำเร็จของการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของบ้านดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ พบว่าประชาชนบ้านดอนมูลมีความรู้และความเข้าใจในหลักธรรมเรื่อง  อิทธิบาท ๔ เป็นอย่างดีและได้นำมาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของบ้านดอนมูลส่งผลให้ประสบผลสำเร็จในการเสริมสร้างเศรษฐกิจ จนทำให้จำนวนการสั่งสินค้า (order) ของสหกรณ์ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ชุมชนบ้านดอนมูล มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน และรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้ประชาชนได้ทำบุญทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามากขึ้น ด้านฉันทะประชาชนมีความพอใจในและมีใจรักในการการดำเนินธุรกิจโดยมีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ด้านวิริยะ ประชาชนมีความกระตือรือร้นและมีความพยายามในการการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มกำลังความสามารถทำให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพ ด้านจิตตะ ประชาชนมีความเอาใจใส่อย่างดีต่อการดำเนินเศรษฐกิจ ทั้งด้านผู้มาสั่งสินค้า การผลิต และการส่งออกสู่ตลาด ด้านวิมังสา ประชาชนได้มีการตั้งคณะกรรมทำงานในการตรวจสอบคุณภาพทั้งในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน ในการประกอบธุรกิจซึ่งจะส่งให้เกิดความสำเร็จในหน้าที่การงาน ทำให้เกิดความสุข เกิดใจรักในงานที่ทำเกิดประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครัว และต่อองค์กรชุมชน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕