หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » แพงเมือง มโนจิตร
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำของพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์)
ชื่อผู้วิจัย : แพงเมือง มโนจิตร ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุนทรสังฆพินิต
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : เมษายน 2559
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้  มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำในทรรศนะทั่วไปและในทรรศนะพระพุทธศาสนา  (๒) เพื่อศึกษาอัตชีวประวัติ และผลงานของพุทธทาสภิกขุ
(พระธรรมโกศาจารย์)  (๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดสำคัญและภาวะผู้นำของพุทธทาสภิกขุ
(พระธรรมโกศาจารย์) ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยในปัจจุบัน  งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า

๑.  ทฤษฎีภาวะผู้นำทั่วไปและในพระพุทธศาสนา พบว่า ภาวะผู้นำทางสังคมทั่วไป ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการอของอิทธิพลที่ผู้นำ  หรือผู้ที่มีภาวะผู้นำ เป็นผู้ที่ชักนำ จูงใจ ชี้นำ ใช้อิทธิพลหรืออำนาจที่มีอยู่ในรูปแบบต่างๆ กระตุ้นหรือชี้นำให้เพื่อนร่วมงาน หรือ ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ยินดี เต็มใจ พร้อมใจ ในการกระทำการ ให้มีความกระตือรือร้นหรือร่วมดำเนินการอย่าใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้นำต้องการให้มีพฤติกรรมไปในทิศทางในการทำงานหรือดำเนินกิจกรรมที่ผู้นำนั้นรับผิดชอบ หรือตามที่ผู้นำนั้นต้องการ ส่วนภาวะผู้นำทางพระพุทธศาสนาภาวะผู้นำต้องประกอบด้วยภาวะ ๒ ประการ คือ  ๑. ภาวะทางด้านจิตใจที่ต้องมีคุณธรรมอันสูงเหนือกว่าผู้อื่น ที่สุดคือหมดจากกิเลสดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. ภาวะลักษณะทางกายภาพหรือบุคลิกภาพของผู้นำชาวพุทธต้องประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ

             ๒. อัตชีวประวัติ และผลงานของพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์) ที่บงบอกถึงภาวะผู้นำบทบาทภาวะผู้นำของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนารักษาธรรมวินัยเอาไว้ โดยการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชาวพุทธทั้งหลายได้ถือเอาเป็นแบบอย่างและนำไปปฏิบัติตาม เพื่อฝึกฝนตนเองในการพัฒนาทางกาย วาจา ใจ มีการกระทำตัวอย่างให้ได้ดู ใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างสมถะให้ได้เห็น แสดงความสงบเย็นให้ได้เข้าถึงและสัมผัสได้ เป็นผู้ทรงความรู้และทักษะในการที่จะเผยแผ่ธรรมะให้กับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาสู่เมืองไทยและยังมีความชำนาญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอัตชีวประวัติของท่านทำให้ชาวพุทธทั่วโลกได้เห็นความสำคัญและสนใจพระพุทธศาสนามากขึ้น ซึ่งเป็นการผดุงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้เจริญในสังคมไทยถึงทุกวันนี้

๓. อิทธิพลแนวคิดและภาวะของพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์) พบผลการวิเคราะห์ว่า พุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์)  ได้มีการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบในการปฏิบัติธรรมด้วยการบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง  และสอนให้พุทธบริษัทได้ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังและเป็นต้นแบบในการศึกษา มีการศึกษาทางคดีโลกและคดีทางธรรม มีความอุตสาหะอดทนศึกษาค้นคว้าหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาอย่างลุ่มลึกแล้วออกมาเผยแผ่ให้พุทธบริษัทศึกษาเรียนรู้ประพฤติปฏิบัติ และมีการเผยแผ่ด้วยเทคนิควิธีการ สื่อ เอกสารและสิ่งพิมพ์ที่หลากหลายเช่น ทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ใช้สื่อศิลปะ สร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ เป็นต้น อิทธิพลแนวคิดที่สำคัญและภาวะผู้นำของพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์) ต่อสังคมไทยในปัจจุบัน พบว่า มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน คือ (๑) อิทธิพลแนวคิดและภาวะผู้นำด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยมีผลกระทบด้านศาสนบุคคล ด้านศาสนธรรม ด้านศาสนวัตถุ  ด้านศาสนพิธี (๒) อิทธิพลแนวคิดและภาวะผู้นำด้านการศึกษาโดยรณรงค์ให้นำหลักคุณธรรม ศีลธรรม หลักจริยธรรมกลับเข้าสู่สถาบันการศึกษาให้ได้เรียนรู้ประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง (๓) อิทธิพลแนวคิดและภาวะผู้นำด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม การสร้างถาวรวัตถุให้กลมกลืนกับธรรมชาติ  การอนุรักษ์ต้นไม้และอนุรักษ์สัตว์ป่าทุกชนิดในบริเวณสวนโมกขพลาราม และกำหนดให้ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมต้องให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย สังคมโลกจึงยกย่องท่านให้เป็นผู้นำทางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่ประสานความสัมพธ์ระหว่างศาสนาให้เกิดสันติภาพ

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕