หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอนุรักษ์ อภิรกฺโข (เจ้ยทอง)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
หนังตะลุงกับการเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน : กรณีหนังตะลุง คณะสุรเชษฏ์ บันเทิงศิลป์ จ. นครศรีธรรมราช(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอนุรักษ์ อภิรกฺโข (เจ้ยทอง) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ธรรมนิเทศ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี
  รศ.บำรุง สุขพรรณ์
  รศ. กิติมา สุรสนธิ
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

     หนังตะลุงเป็นสื่อศิลปะพื้นบ้านที่แสดงกันอย่างแพร่หลายในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีคณะหนังตะลุงมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ แต่หลักฐานไม่ปรากฏชัดว่า เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด แต่มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเข้ามาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๗ โดยได้รับอิทธิพลมาจากหนังตะลุงอินเดีย หนังตะลุงชวา และหนังตะลุงมลายู และได้ผสมผสานกับรูปแบบการแสดงหนังตะลุงของไทย ต่อมาได้พัฒนารูปแบบการแสดงหนังตะลุงแบบไทยขึ้นมาตามลำดับ และในส่วนหลักศีลธรรมที่ปรากฏในเนื้อของหนังตะลุงนั้น พบว่า มีอยู่หลายประการด้วยกัน แต่ที่พบบ่อยครั้งได้แก่ ๑. กรรม ๒. ศีล๕ ๓. อบายมุข ๔. ความกตัญญูกตเวที ๕. ทิศ ๖ ๖.ฆราวาสธรรม ๗. พรหมวิหารธรรม เป็นต้นในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาหนังตะลุงคณะสุรเชษฏ์ บันเทิงศิลป์ ซึ่งเป็นหนังตะลุง ที่มีชื่อเสียงคณะหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับหลักธรรมที่ปรากฎอยู่ในเนื้อหาของหนังตะลุงคณะสุรเชษฏ์ บันเทิงศิลป์ รวมถึงการนำเนื้อหาของธรรมเหล่านั้นไปถ่ายทอดแก่ประชาชนจากการสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ นักวิชาการ นายหนังตะลุง และประชาชนพบว่า เนื้อหาของหนังตะลุงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และหลักธรรมที่นายหนังตะลุงนำเสนอนั้นก็มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในภาคใต้เป็นอย่างดี คนดูสามารถนำไปประพฤติใช้ได้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้หนังตะลุงมีส่วนในการพัฒนาการเรียนรู้ให้กับประชาชนในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า ด้านศีลธรรม การเมืองการปกครอง การสาธารณสุข ด้านสังคม ประเพณีวัฒนธรรม เป็นต้น ดังนั้นกล่าวได้ว่า หนังตะลุงก็คือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเคลื่อนที่ ทั้งนี้เพราะประชาชน ยังสามารถรับรู้ข่าวสารอื่น ๆ โดยผ่านทางหนังตะลุงหนังตะลุงเป็นสื่อพื้นบ้านที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง และเชื่อว่าหากมีการพัฒนาและปรับปรุงให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแล้วสังคม หนังตะลุงจะยังคงทำหน้าที่ในการรับใช้สงคมไทยตลอดไป

 

Download : 255156.pdf

 

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕