เข้าชม : ๒๑๐๕๐ ครั้ง |
การศึกษาหลักพุทธธรรมในวรรณกรรม สิริจันโทวาท ยอดคำสอน |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระศุภโชค สุธมฺโม (มีธรรม) |
ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๓/๒๐๑๘ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน |
|
สิปป์มงคล ป้องภา |
|
- |
วันสำเร็จการศึกษา : |
มีนาคม ๒๕๖๐ |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณกรรม สิริจันโทวาท ยอดคำสอน ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในวรรณกรรม สิริจันโทวาท ยอดคำสอน ๓) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าพุทธธรรมในวรรณกรรม สิริจันโทวาท ยอดคำสอน ที่มีต่อสังคมไทยปัจจุบันเป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร(Documentary Research) ผลจากการศึกษาพบว่า
ผู้ประพันธ์วรรณกรรม สิริจันโทวาท ยอดคำสอน คือพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจฺนฺโท) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ – ๒๔๕๗ ขณะดำรงสมณะศักดิ์ที่พระราชกระวี ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นวรรณกรรมเล่มเดียวที่เป็นสำนวนภาษาไทยอีสานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมสั่งสอนประชาชน และวิจารณ์คติความเชื่อในเรื่องของการทำนายถึงความเสื่อมเมื่อพุทธศาสนาเมื่อได้ล่วงเข้าสู่สามพันปีหลังพุทธกาล
ในวรรณกรรมสิริจันโทวาทยอดคำสอนมีปรากฏหลักพุทธธรรมทั้งหมด ๘ หลักพุทธธรรม คือ ๑) พุทธธรรมว่าด้วยการปกครอง ๒) พุทธธรรมว่าด้วยผู้อยู่ใต้ปกครอง๓) พุทธธรรมว่าด้วยความกตัญญูกตเวที๔)พุทธธรรมว่าด้วยความเสียสละ๕)พุทธธรรมว่าด้วยสัมมาอาชีวะ ๖) พุทธธรรมว่าด้วยศีล ๗) พุทธธรรมว่าด้วยความเจริญและ ๘) พุทธธรรมว่าด้วยความเสื่อม
ผลการวิเคราะห์คุณค่าของหลักพุทธธรรมในวรรณกรรมสิริจันโทวาทยอดคำสอนที่มีต่อสังคมไทยพบว่ามีทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสังคมโดยสามารถแบ่งได้ ๔ประการ คือ๑) คุณค่าด้านการดำเนินชีวิต ๒) คุณค่าที่มีต่อธรรมชาติ ๓)คุณค่าด้านการปกครอง ๔) คุณค่าด้านคติความเชื่อ
ดาวน์โหลด
|
|
|