บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสที่มีต่อประชาชนในตำบลโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี (๒) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อภาวะผู้นำเจ้าอาวาสที่มีต่อประชาชนในตำบลโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี (๓) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมภาวะผู้นำเจ้าอาวาสที่มีต่อประชาชนในตำบลโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างประชาชนในตำบลโพธิ์ศรี จำนวน ๓๖๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามและความคิดเห็นของประชาชนในตำบลโพธิ์ศรีที่มีต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสที่มีต่อประชาชนในตำบลโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของประชาชนต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในตำบลโพธิ์ศรี ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า(T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ความคิดเห็นของประชาชนในตำบลโพธิ์ศรี ที่ต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสที่มีต่อประชาชนในตำบลโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง ๔ ด้าน จะพบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมากมีค่าเฉลี่ย ( = ๓.๗๙, S.D. = ๐.๖๑) และเมื่อจำแนกแต่ละด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากที่สุดด้านการพัฒนาชุมชนมีค่าเฉลี่ย ( = ๓.๙๑, S.D. = ๐.๖๔) รองลงมาด้านการส่งเสริมการศึกษามีค่าเฉลี่ย ( = ๓.๗๘, S.D. = ๐.๕๘) ด้านส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมีค่าเฉลี่ย
( = ๓.๗๗, S.D. = ๐.๕๘) และด้านการสร้างศรัทธาต่อประชาชนมีค่าเฉลี่ย ( = ๓.๗๐, S.D. = ๐.๖๓) ตามลำดับ
๒. ในด้านภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสที่มีต่อประชาชนในตำบลโพธิ์ศรี เมื่อจำแนกตามสถานภาพโดยภาพรวมประชาชนที่มี เพศ วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม อาชีพที่ต่างกันมีความคิดต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสที่มีต่อประชาชนในตำบลโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี แตกต่างกัน ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนในตำบลโพธิ์ศรี ที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสที่มีต่อประชาชนในตำบลโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ไม่แต่งต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ปัญหาส่วนใหญ่ของเจ้าอาวาส ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาวัดและชุมชนที่ติดกันอยู่ในระดับปานกลาง และทำแบบเชิงรับอยู่แต่ในที่ส่วนใหญ่ ไม่ขยายพื้นที่ในชุมชนมากนัก ทำให้ขาดข้อมูลการรับข้อมูล และปัญหาที่แท้จริง ทำให้ความสัมพันธ์กับชุมชนที่อยู่โดยบริเวณรอบวัดของตน ทำให้การพัฒนาวัดและชุมชน
ดาวน์โหลด
|