หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระจิรวัฒน์ ภทฺทาวุโธ (คำไมตรี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์พระเครื่องในฐานะเป็นสื่อสัญลักษณ์แทนพระรัตนตรัย
ชื่อผู้วิจัย : พระจิรวัฒน์ ภทฺทาวุโธ (คำไมตรี) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมพาน ชาคโร
  พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ เมษายน ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษาวิเคราะห์พระเครื่องในฐานะเป็นสื่อสัญลักษณ์แทนพระรัตนตรัยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการของพระเครื่อง, ๒) เพื่อศึกษาอิทธิพลของพระเครื่องในสังคมไทย, ๓) เพื่อศึกษาพระเครื่องในฐานะเป็นสื่อสัญลักษณ์แทนพระรัตนตรัย โดยสรุปผลการศึกษามีดังต่อไปนี้

การสร้างพระเครื่องมีพัฒนาการมาแต่สมัยอินเดียโบราณเพื่อระลึกถึงองค์พระศาสดา โดยอาศัยมูลเหตุตามคติความเชื่อของชาวพุทธจนกลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างจากวัตถุตามธรรมชาติหรือโลหะต่างๆ โดยลักษณะภายนอก เป็นรูปองค์พระพุทธเจ้าหรือสาวกสำคัญ ชาวไทยสร้างพระเครื่องเพื่อสักการบูชาด้วยธูปเทียน และพุทธาภิเษกเพื่อให้เกิดความขลัง โดยเชื่อว่าจะมีอำนาจช่วยคุ้มครองป้องภัย บันดาลให้มีสุขสวัสดิ์ พบพานแต่สิ่งดี ก่อเกิดอิทธิพลหลากหลาย ทั้งด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม พุทธศิลป์ ส่งผลต่อวัฒนธรรม ประเพณี ตั้งแต่สมัยทวารวดีจนปัจจุบัน   พระเครื่องเป็นตัวแทนพระรัตนตรัยให้ระลึกถึงสิ่งดีงามและคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นรากฐาน ของศิลปะ วัฒนธรรม พระพุทธรูปมีปุริลักษณะงามน่าเลื่อมใสศรัทธา ให้คนกราบไหว้สบายใจ ศรัทธาและอุดหนุน ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา ทั้งได้รับอานิสงส์จากการสร้างและบริจาคตามศรัทธา ทำให้พระพุทธศาสนาพัฒนา น่าเลื่อมใส และมั่นคง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕