บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการประกอบธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ ในเขตอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการแก้ปัญหาและส่งเสริมธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ ในเขตอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร คือ คัมภีร์พระไตรปิฎก ตลอดจนเอกสาร ตำราวิชาการ ผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของอู่ซ่อมรถยนต์ ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินธุรกิจแบบครอบครัว มีเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ ให้บริการทั้งเฉพาะอย่างและครบวงจรภายในอู่ซ่อมรถยนต์แห่งเดียว อู่ซ่อมรถยนต์มีหลายขนาด อู่ซ่อมรถยนต์ส่วนใหญ่ให้บริการด้วยตนเองมีหลักพุทธธรรมสำหรับแก้ปัญหาธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ ได้แก่ อริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค น้อมหลักธรรมเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักบริหารทรัพยากร คน เครื่องจักร เงินทุน การบริหารจัดการ หลักพุทธธรรมสำหรับส่งเสริมธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ประกอบด้วย หลัก ๓ ประการ ได้แก่ ๑) หลัก, จักร ๔, ๒) หลักอิทธิบาท ๔, ๓) หลักหัวใจเศรษฐี ๔ สภาพปัญหาของอู่ซ่อมรถยนต์เกิดจากปัจจัยสำคัญ ๔ ส่วน คือ ๑) ทรัพยากรบุคคลภายในอู่ ๒) เครื่องจักรและวัสดุภายในอู่ ๓) เงินทุน ๔) การบริหารจัดการภายในอู่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัย ๒ ส่วน ๑) บุคลากรภายในอู่ซึ่งเป็นผู้ให้บริการและผู้บริหาร ๒) ลูกค้าที่ขาดความรับผิดชอบ มีการแก้ปัญหาด้วยวิธีเฉพาะหน้า เช่น ผิดแล้วว่ากล่าวตักเตือน ยังไม่มีการนำหลักพุทธธรรมมาเป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาในระยะยาว
แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ ในเขตอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มี ๒ ประเด็น ดังนี้ ๑) แนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ฝ่ายปฏิบัติการ พบว่า โดยรวมแล้วเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ข) แนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ในอำเภอ เขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ฝ่ายวิชาการ มี ก) หลักหัวใจเศรษฐี สามารถแก้ปัญหาการประกอบธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ ทั้งในส่วน บุคลากร เครื่องจักร เงินทุน และการบริหารจัดการได้ อย่างยั่งยืน ข) หลักฆราวาสธรรม ๔ ค) หลักวุฒิธรรม ๖ ง) หลักอิทธิบาท ๔ จ) หลักสังคหวัตถุ ๔ ฉ) อปริหานิยธรรม ๗ พบว่า โดยรวมเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
แนวทางส่งเสริมธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มี ๔ ประเด็น ดังนี้ ๑) หลักจักร ๔ ส่งเสริม ในด้านการบริหารจัดการองค์กร ๒) หลักพรหมวิหารเพื่อส่งเสริมธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ ในด้านการพัฒนาบุคคลากรภายในองค์ให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะฝ่ายบริหาร ๓) การประยุกต์ใช้สาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ ในด้านการพัฒนาบุคคลากรภายในองค์ให้มีคุณธรรมและมีคุณภาพ ทั้งในระดับผู้บริหารและพนักงาน ๔) การประยุกต์ใช้ศีล ๕ เพื่อส่งเสริมธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ ในด้านป้องกันและพัฒนาบุคคลากรภายในองค์กรคุณธรรมและมีคุณภาพ ทั้งในระดับผู้บริหารและพนักงาน
ดาวน์โหลด |