บทคัดย่อ
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการถวายอาหารบิณฑบาต : กรณีศึกษาพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ เพลินจิต กรุงเทพมหานคร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ ๓ อย่างเพื่อ ๑) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการถวายอาหารบิณฑบาตของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ เพลินจิตกรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจที่ทำให้ตัดสินใจในการถวายอาหารบิณฑบาตของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ เพลินจิต กรุงเทพมหานคร ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการถวายอาหารบิณฑบาตของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ เพลินจิตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยศึกษา เป็นพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ เพลินจิตกรุงเทพมหานครจำนวน ๓๐๙ คน และผู้ให้การสัมภาษณ์จำนวน ๖ คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิด และ การสัมภาษณ์ ได้ถูกนำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. พฤติกรรมการถวายอาหารบิณฑบาตของพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ เพลินจิต กรุงเทพมหานคร มีพฤติกรรมการถวายอาหารไม่บ่อยมาก จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยต่อปีมากกว่า ๒๕ ครั้ง สถานที่ที่ถวายอาหารส่วนใหญ่เป็นบริเวณหน้าบ้านพักอาศัย และวันที่ถวายอาหารบิณฑบาตส่วนใหญ่เป็นวันเกิด อาหารที่ถวายบิณฑบาต เป็นอาหารคาว งบประมาณที่ใช้ในการเตรียมอาหารประมาณ ๕๑ - ๑๐๐ บาท หลังจากถวายอาหารบิณฑบาตแล้วมีการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เกี่ยวกับอาหารที่ใช้ถวาย เป็นอาหารสำเร็จที่ซื้อจากตลาด
๒. ปัจจัยจูงใจที่ทำให้ตัดสินใจในการถวายอาหารบิณฑบาตของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ เพลินจิต กรุงเทพมหานคร มีการถวายอาหารบิณฑบาต โดยแบ่งเป็น ๒ ด้าน คือ ด้านจุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นการสร้างบุญกุศลให้ตนเองและผู้อื่น และด้านความเชื่อส่วนบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้เพศชายและเพศหญิง มีความเชื่อส่วนบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่เพศหญิงมีความเชื่อมากกว่าเพศชาย สำหรับพนักงานที่มีสถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา หน่วยงานที่สังกัดและรายได้ต่อเดือนต่างกันมีความเชื่อส่วนบุคคลโดยรวมไม่แตกต่างกัน
๓. แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการถวายอาหารบิณฑบาตมี ๓ ด้าน คือ ด้านอัตตัตถประโยชน์ เป็นการรักตัวเอง พัฒนาตัวเอง แบ่งปันอาหารซึ่งเป็นสมบัติของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการ ลดละ การทำประโยชน์ส่วนตน การทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ การฝึกตนในกุศลความดี การเรียนรู้ การบากบั่นพากเพียร ด้านปรัตถประโยชน์ การสร้างความรู้สึกให้เห็น คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งมีค่า เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา หลังจากได้ถวายอาหารแก่พระสงฆ์เป็นการส่งเสริมการบำเพ็ญประโยชน์คือเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า ด้านศาสนประโยชน์ เป็นการส่งเสริมความคิดในด้านจิตใจให้มีคุณธรรม โดยมี พระสงฆ์ เป็นผู้สื่อกลาง หรือหมายถึง ศาสนาวัตถุ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และพระธาตุ จิตกรรม ปติมากรรม สถานปฏิบัติธรรม การประชาสัมพันธ์ซึ่งได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการถวายบิณฑบาต
ดาวน์โหลด
|