หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กุลวรา พิมใจใส
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุตามหลักภาวนา ๔ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลาง (ชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : กุลวรา พิมใจใส ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  เริงชัย หมื่นชนะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ๑) ศึกษาการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุตามหลักภาวนา ๔ ของผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ๒)เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุตามหลักภาวนา ๔ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง 3) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ก่อนเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยแบบสอบถามและแนวทางการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยผู้วิจัยออกแบบมาและตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่จำนวน ๑๕7 คนข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้จากการสัมภาษณ์จากผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละทดสอบค่า Independent Samples t-test, F-test (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD

ผลการวิจัย พบว่าการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุตามหลักภาวนา ๔ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลาง โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า บุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลางมีการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุตามหลักภาวนา ๔ ด้านจิต มากที่สุด รองลงมา ด้านปัญญา ด้านกายและด้านสังคมตามลำดับ

สำหรับการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุตามหลักภาวนา ๔ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลางจำแนกตามเพศสถานภาพบุคลากรในมหาวิทยาลัยระดับการศึกษาสูงสุดตำแหน่งทางการบริหาร มีการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุตามหลักภาวนา ๔ พบว่าไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกอายุสถานภาพสมรสระยะเวลาการทำงานรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุทางด้านกาย ด้านจิต ด้านสังคมและด้านปัญญาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐1 และ 0.05ตามลำดับ

ในสังคมวัยทำงานโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสงฆ์ การเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพ จึงเป็นเป้าหมายที่พึงปรารถนาโดยเชื่อว่าถ้าทุกคนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆก่อนการเกษียณ จะทำให้เป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข ในฐานะพุทธศาสนิกชน หลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา หากนำมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตก่อนการเกษียณ จะสามารถเป็นการเตรียมความพร้อมได้อย่างดีและรวดเร็วอย่างมีเป้าหมาย เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับความหลากหลายของมิติชีวิต ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญยิ่งของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณคือ การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสมในปัจจุบันผู้วิจัยจึงสรุปเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพนั้นมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้

๑. มีหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนั้นคือหลักอิทธิบาทในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าศรัทธาเพื่อเป็นแรงผลักดันในปฏิบัติตนให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี พรหมวิหารธรรมเพื่อความเกื้อกูล งอกงามในใจตนสู่คนรอบข้าง และอริยสัจเป็นปัญญาแห่งการหลุดพ้น

2. ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง พยายามทำทุกวันให้ดีที่สุด เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปในวัฎฎะ

3.ปฏิบัติตนให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยพัฒนาศักยภาพทางกายอย่างถูกต้องสมบูรณ์ และสอดคลองกับ วิถีแห่งธรรมชาติ เพื่อสามารถใช้งานร่างกายให้ได้นาน เลือกเฟ้นพิจารณาอาหารที่มีประโยชน์ในการรับประทาน งดอาหารที่มีรสจัด พักผ่อนให้พอเพียงและหมั่นออกกำลังกาย

4. การมีสติอยู่กับปัจจุบันด้วยวิถีแห่งอริยมรรคปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจมุ่งพัฒนาจิต  เมื่อพัฒนาจิตแลว ทำให้ทุกอย่างจะพัฒนาไปในทางสร้างสรรค์

5. เอื้อประโยชน์สังคม ด้วยโครงการกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ

6. ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นการอยูอย่างรูเท่าทันสภาวะ เข้าใจในสรรพสิ่ง รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมที่เกิดขึ้น รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ นั้นคือจะต้องยกระดับของสติและปัญญาให้สูง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕