บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับกัลยาณมิตรในการดำเนินชีวิตของบุคลากรศาลอาญา ๒) เพื่อเปรียบเทียบหลักกัลยาณมิตรในการดำเนินชีวิตจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรศาลอาญา ๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักกัลยาณมิตรในการดำเนินชีวิตของบุคลากรศาลอาญา
วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยา และหลักพุทธธรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อวัดระดับหลักกัลยาณมิตรและการดำเนินชีวิตของบุคลากรศาลอาญา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือกลุ่ม ข้าราชการและลูกจ้างในศาลอาญา ที่มีอยู่ จำนวน ๑๖๙ คน ผลการวิจัยพบว่า
สรุปผลการวิจัย
๑. ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล
บุคลากรศาลอาญา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๑๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๓ มีอายุ ระหว่าง ๓๖ - ๔๕ ปี จำนวน ๖๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๘ มีสถานะภาพโสด จำนวน ๘๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๘ มีเงินเดือนรวมค่าตอบแทน อยู่ระหว่าง ๑๕,๐๐๑ - ๒๕,๐๐๐ บาท จำนวน ๙๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๙ มีประสบการทำงาน ๖ - ๑๐ ปี จำนวน ๕๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๖ และส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจำนวน ๑๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๔
๒. เปรียบเทียบกับหลักกัลยาณมิตรจำแนกตามข้อมูลทั่วไป
กลุ่มตัวอย่างบุคลากรศาลอาญา เมื่อจำแนกตามข้อมูลทั่วไป พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ เงินเดือนรวมค่าตอบแทน และประสบการทำงาน แตกต่างกัน มีหลักกัลยาณมิตรไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับกัลยาณมิตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และ ๐.๐๑
๓ เปรียบเทียบการดำเนินชีวิตจำแนกตามข้อมูลทั่วไป
กลุ่มตัวอย่างบุคลากรศาลอาญา เมื่อจำแนกตามข้อมูลทั่วไป พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ เงินเดือนรวมค่าตอบแทน และประสบการทำงาน แตกต่างกันมีหลักการดำเนินชีวิตไม่แตกต่างกันส่วน ระดับการศึกษา แตกต่างกันมีหลักการดำเนินชีวิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และ ๐.๐๑
๔ หลักกัลยาณมิตรมีความสัมพันธ์ในการดำเนินชีวิตในเชิงบวก
ความสัมพันธ์ระหว่างหลักกัลยาณมิตรต่อการดำเนินชีวิตของบุคลากรศาลอาญา พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง หลักกัลยาณมิตรและหลักการดำเนินชีวิตของบุคากรศาลอาญา โดยรวมแต่ละด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับปานกลาง
ดาวน์โหลด
|