หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ปณิตา ถนอมวงษ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๖ ครั้ง
ผลการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยใช้หลัก พุทธโภชนศาสตร์ต่อผู้ป่วยเรื้อรังที่ชมรมแพทย์แผนโบราณวัดบางกร่าง อำเภอเมือง นนทบุรี (ชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : ปณิตา ถนอมวงษ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  ประยูร สุยะใจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         วิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยใช้หลัก พุทธโภชนศาสตร์ต่อผู้ป่วยเรื้อรัง    ที่ชมรมแพทย์แผนโบราณวัดบางกร่าง อำเภอ เมือง นนทบุรี นี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง และวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาออกแบบชุดกิจกรรมหลักพุทธโภชนศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังแบบองค์รวม ที่ชมรมแพทย์แผนโบราณ วัดบางกร่าง  นนทบุรี (๒) เพื่อศึกษาประสิทธิ์ผลชุดกิจกรรมหลักพุทธโภชนศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังแบบองค์รวมที่ชมรมแพทย์แผนโบราณ วัดบางกร่าง  นนทบุรี (๓) เพื่อนำผลชุดกิจกรรมหลักพุทธโภชนศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังแบบองค์รวมที่ชมรมแพทย์แผนโบราณ วัดบางกร่าง  นนทบุรี  กลุ่มตัวอย่างประชากรประกอบด้วยผู้เข้ารับการรักษาและสมาชิกที่ชมรมแพทย์แผนโบราณ วัดบางกร่าง อำเภอเมือง นนทบุรี  ปีพ.ศ. ๒๕๕๗ จำนวน ๓๗ คน โดยสมัครใจและใช้เกณท์สุ่มอย่างง่ายไว้ทดลอง ๒๐ คน  เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบ่งเป็น ๔ ส่วน คือข้อมูลพื้นฐาน แบบประเมินในชุดกิจกรรมศีลด้วยข้อคำถาม ๑๕ ข้อ  ชุดกิจกรรมสมาธิด้วยข้อคำถาม ๑๕ ข้อ    ชุดกิจกรรมปัญญา ด้วยข้อคำถาม ๑๕ ข้อ  และแบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยเรื้อรัง เกี่ยวกับความความรู้สึกในด้านกายและใจตามแบบสุขภาพองค์ด้วยหลักพุทธโภชนศาสตร์  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการค้นคว้าตำรา เอกสาร และงานวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับหลักพุทธโภชนศาสตร์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติอ้างอิง ในวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรม ทั้งก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมพุทธโภชนศาสตร์ เพื่อนำไปพัฒนาจิต โดยสถิติ แบบ Paired test

             ผลการวิจัยพบว่า  

                 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองใช้  ชุดกิจกรรมศีลพบว่า มีความตระหนักรู้ว่าอาหารสมุนไพรมีสรรพคุณเป็นยาเป็นลำดับที่๑   ด้านพฤติกรรมเรื่องอิริยาบถที่ไม่เสมอ กลั้นอุจจาระและปัสสาวะมีผลทำให้เจ็บป่วยเป็นลำดับที่๒   ส่วนของอารมณ์ที่โกรธก็เป็นสาเหตุทำให้ป่วยไข้ได้เช่นกันเป็นลำดับที่๓   ชุดสมาธิการเดินให้ช้าลงทำให้มีสมาธิเป็นลำดับที่๑            การกำหนดก้าวเดินทำให้เดินช้าลงเป็นลำดับที่๒   และการเดินช้าลงทำให้มีการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายเป็นลำดับที่๓   ด้านปัญญา  การแผ่เมตตาทำให้เป็นสุข  การสวดมนต์ทำให้ผ่อนคลาย      เป็นลำดับที่๑   การมีสติในการพิจารณาตัวอักษรและความหมายเป็นลำดับที่๒   ท่านเข้าใจถึงเหตุแห่งการเจ็บป่วยมาจากความไม่พอดีเป็นลำดับที่๓ และพบว่า ชุดกิจกรรมทั้ง ๓  มีผลของคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นทุกกิจกรรม

          ในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับผลการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยใช้หลัก พุทธโภชนศาสตร์ต่อผู้ป่วยเรื้อรังที่ชมรมแพทย์แผนโบราณวัดบางกร่าง อำเภอ เมือง นนทบุรี  จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย ร่วมกับการสังเกตสีหน้า แววตา การรับรู้  ผิวพรรณ ของผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่หลังร่วมกิจกรรมมีด้านกาย อาการทางกายดีขึ้น  ด้านจิตใจและอารมณ์รู้สึกสงบ  มีสมาธิ  เข้าใจเรื่องธรรมชาติในอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  ด้านสังคมรู้สึกการถึงมีส่วนร่วมในกิจกรรม  การเอื้อเฟื้อต่อกลุ่ม  การอยู่ร่วมกับคนในครอบครัวและสังคมที่ดีขึ้น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕