บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีการวิจัยเรื่อง “จิตสาธารณะแนวพุทธของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี” โดยมีเป้าหมาย๑)เพื่อศึกษาระดับจิตสาธารณะแนวพุทธของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับจิตสาธารณะแนวพุทธของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วยจำนวน ๒๖๐คน เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ประกอบด้วยค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ตามด้วย : LSD
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ได้แก่ เป็นเพศหญิง (90.8%) อายุระหว่าง 20-30ปี (32.3%) สถานภาพโสด(49.2%) ปริญญาตรี (67.7%) รายได้ต่อเดือน 25,000บาทขึ้นไป (40.8%) ตำแหน่ง ข้าราชการ และมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า20ปี (36.2%)
ระดับจิตสาธารณะ พบว่า โดยรวมกลุ่มตัวอย่าง มีระดับจิตสาธารณะในระดับมาก (=4.11) ซึ่งสามารถจัดระดับ จากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านมุทิตา(=4.31) ด้านมุทิตา (=4.16) ด้านอุเบกขา (=4.00) และด้านเมตตา (=3.95) เป็นลำดับสุดท้าย ตามลำดับ
เปรียบเทียบระดับจิตสาธารณะ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ตำแหน่งและประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีระดับจิตสาธารณะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วน สถานภาพสมรส ต่างกันมีจิตสาธารณะ ไม่ต่างกัน
ดาวน์โหลด |