หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการบัณฑิต ปญฺญาวีโร (เจนพานิช)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๖ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการบัณฑิต ปญฺญาวีโร (เจนพานิช) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  ภักดี มานะหิรัญเวท
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ / มีนาคม / ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน  อำเภอเมือง  จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน  อำเภอเมือง  จังหวัดสระแก้ว  ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์  ในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน  อำเภอเมือง  จังหวัดสระแก้ว  ๓)  เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาในการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์  ในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตเทศบาลตำบล  ศาลาลำดวน  อำเภอเมือง  จังหวัดสระแก้ว ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวนอำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan   จาก ๖ ชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย  กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๓๑ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อบรรยายข้อมูลสถานภาพส่วนบุคคลหรือตัวแปรต้น การทดสอบค่าที (t-test) และ การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ใช้ทอสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Differece (LSD)

ผลการวิจัยพบว่า   

 

              ๑) จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน ๓๓๑ คน พบว่า กลุ่ม ตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ ๖๐.๗๒  เป็นเพศหญิง  ร้อยละ ๔๔.๑๐ มีอายุระหว่าง ๒๑-๔ ปี ร้อยละ ๖๓.๑๔  มีการศึกษาระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษา ร้อยละ ๓๙.๕๘ ประกอบอาชีพรับจ้าง  ร้อยละ ๕๕.๒๘ มีรายได้ระหว่าง ๕,๐๐๑-๑๐,๐๐๐ บาท 

 

๒) การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน  อำเภอเมือง  จังหวัด พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน  อำเภอเมือง  จังหวัดสระแก้ว  โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๔)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน  อำเภอเมือง  จังหวัดสระแก้ว ด้านสมชีวิตา ความเป็นอยู่เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๒๕) รองลงมา   ด้านอารักขสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยการรักษา อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๔) ด้านอุฏฐานสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น อยู่ในระดับมาก   ( = ๔.๐๙) และสุดท้าย ด้านกัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรดี อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๗)

 

๓) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน  อำเภอเมือง  จังหวัดสระแก้ว จำแนกตามสถานภาพ เพศ  อายุ   ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า   ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว  โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มี ระดับการศึกษา อาชีพ และรายไดต่างกันมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

 

๔) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน  อำเภอเมือง  จังหวัดสระแก้ว พบว่าความถึงพร้อมด้วยความหมั่นบางครั้งบางคนไม่มีความอดทนเพียงพอต่อการสู้งานบางครั้งเกิดความเหน็ดเหนื่อยย่อท้อต่ออุปสรรค บางครั้งไม่มีการเก็บข้าวของไว้ในที่มั่นคง ห่างจากอันตราย และไม่รู้จักเก็บเล็กผสมน้อยให้มากขึ้น บางครั้งการแนะนำพร่ำสอนตักเตือนไม่ให้ทำความชั่วทำแต่กรรมดีอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร และ เวลาเดือดร้อนไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับคนอื่น หรือกับตัวเองได้บางครั้งไม่มีเวลาที่จะหาความสุขตามกำลังทรัพย์ที่หามาได้ และจะไม่มีการเก็บออมรักษาทรัพย์ไว้เพื่อประโยชน์ในกาลภายหน้า

ข้อเสนอแนะ ควรสร้างความพร้อมในการปฏิบัติตนไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการทำความดี เช่น หมั่นเพียรทำความดีหมั่นเพียรทำงาน จนประสบความสำเร็จ ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวเราด้วยว่ามีความพร้อมในการปฏิบัติควรสร้างความพร้อมในเรื่องรักษาความดีรักษาดูแลพ่อแม่ รักษามิตรภาพในหมู่วงศ์ญาติรักษามิตรภาพในที่ทำงานควรคบและการปฏิบัติตัวต่อคนรู้จัก เพื่อนบ้าน และญาติมิตร ด้วยความจริงใจ ดูแลเอื้ออาทรกัน ช่วยเหลือกันเวลาที่อีกฝ่ายต้องการช่วยเหลือ และเราสามารถช่วยได้ตามกำลังการอยู่แบบสมฐานะ ตามอัตภาพไม่ฟุ่มเฟือย เกินความจำเป็น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕