หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอุทิศ อินฺทปญฺโญ (โพธิ์แสงทอง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๕ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน บ้านสร้างเรือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอุทิศ อินฺทปญฺโญ (โพธิ์แสงทอง) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสม กลฺยาโณ
  บัว พลรัมย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน บ้านสร้างเรือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ  
๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน บ้านสร้างเรือง
อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ  ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชน บ้านสร้างเรือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ  การศึกษาครั้งนี้  เป็นวิจัยแบบผสมผสาน (
Mixed Method Research) คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามถึงระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน จากประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๕๓ คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
(
One-Way ANOVA) และการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s post hoc comparison) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๘  คน โดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)

     ผลการวิจัยพบว่า

 

     ๑. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน บ้านสร้างเรือง อำเภอเมือง
ศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษทั้ง ๔ ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ รองลงมา คือ 
ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตามลำดับ

     ๒. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพ และรายได้ ต่างกัน มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน บ้านสร้างเรือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  แต่ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีผลต่อการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการพัฒนาชุมชน บ้านสร้างเรือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  ซึ่งแย้งกับสมมติฐานที่ว่า ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน บ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมืองศรีสะเกษ
จังหวัดศรีสะเกษ แตกต่างกัน

              ๓. ข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน บ้านสร้างเรือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า คณะกรรมการควรรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านเพื่อเป็นการตัดสินใจที่ดี และให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม เมื่อเกิดปัญหาให้พูดคุยกันเปิดประชุมขอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของแต่ละฝ่าย ในการประชุมแสดงความคิดเห็นควรให้ตัวแทนแต่ละครัวเรือนเข้าประชุมเพื่อหาข้อสรุปต่างๆ ควรจัดกิจกรรมให้ทุกคนมีส่วนร่วม จะได้เกิดพลังสามัคคี ผู้นำต้องกระตือรือร้นในการทำงาน อธิบายปัญหาให้ชัดเจนและเข้าใจ สร้างความสามัคคีในชุมชน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕