หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระใบฎีกาสัญญา อภิวณฺโณ (สดประเสริฐ)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
กระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาความเป็นเมืองของชุมชนในตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระใบฎีกาสัญญา อภิวณฺโณ (สดประเสริฐ) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร
  บัว พลรัมย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ ๓ ประการ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาความเป็นเมืองของชุมชนในตำบลไร่ขิง    อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กร และประชาชนในการพัฒนาความเป็นเมืองของชุมชนในตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองไร่ขิง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน          จังหวัดนครปฐม

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนทั่วไป หน่วยงานต่างๆ         ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในพื้นที่ชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม          จำนวน ๓๙๔ คน โดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามทั้งหมดมาวิเคราะห์ และประมวลผล    โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติ ดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)         กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Techniques)

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. กระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาความเป็นเมืองของชุมชนในตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ๓.๗๒ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจชุมชน ด้านทรัพยากรชุมชน และด้านการบริหารจัดการชุมชน อยู่ในระดับมากทุกด้าน และการมีส่วนร่วมขององค์กร และประชาชนในการพัฒนาความเป็นเมืองของชุมชนไร่ขิง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ๓.๕๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน       คือ ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติการ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล           อยู่ในระดับมากทุกด้าน

 

๒. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาความเป็นเมืองของชุมชนในตำบลไร่ขิง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยเชิงสังคม พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาของการอาศัยอยู่ในชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน และการเป็นสมาชิกกลุ่ม/เครือข่าย แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาความเป็นเมืองของชุมชนในตำบลไร่ขิง     ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมิฐาน

๓. ปัญหา อุปสรรค แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองไร่ขิง พบว่า ประชาชนขาดความพร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อชุมชน ในการจัดประชุมหรือการให้ความรู้แก่ประชาชน   ยังมีน้อย ควรเพิ่มเป็นอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง เพื่อพูดคุย ชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาในการพัฒนาชุมชน       แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สามารถเสนอความคิดเห็นได้ทุกกรณีอย่างอิสระ และควรแจ้งข้อมูลทั้งด้านบวก และด้านลบตามความเป็นจริง เพื่อร่วมกันหาแนวทางปรับปรุงพัฒนาจุดแข็ง จุดอ่อน ของโครงการพัฒนาชุมชน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕