บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาสังคมตามหลักการทั่วไป ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ๒) เพื่อศึกษาการพัฒนาสังคมตามหลักภาวนา ๔ ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมตามหลักภาวนา ๔ ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Methodology Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พระสงฆ์อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อเปรียบเทียบกับตารางของ Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๐๒ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมตามหลักภาวนา ๔ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ ๐.๐๕ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t–test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) การเปรีบเทียบรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การศึกษาการพัฒนาสังคมตามหลักภาวนา ๔ ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย = ๓.๗๕ เมื่อพิจารณารายด้าน การพัฒนาสังคมตามหลักภาวนา ๔ ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยภาพรวมด้านปัญญาภาวนามากที่สุดค่าเฉลี่ย = ๓.๘๐ รองลงมาด้านกายภาวนา ด้านสีลภาวนาเสมอกัน และด้านจิตตภาวนา ตามลำดับ
๒. การเปรียบเทียบการพัฒนาสังคมตามหลักภาวนา ๔ ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาสังคมตามหลักภาวนา ๔ ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จำแนกตาม อายุ จำนวนพรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษานักธรรม ตำแหน่ง ต่างกัน มีการพัฒนาสังคมตามหลักภาวนา ๔ ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓. ปัญหาอุปสรรค การพัฒนาสังคมตามหลักภาวนา ๔ ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ประเด็นแรก คือ พระสงฆ์ไม่รู้จักวิธีการอบรมให้ญาติโยมดำรงชีวิตในการทำกายให้เจริญมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การพัฒนากายให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ประเด็นที่สอง ปัญหาของความประพฤติ การไม่ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย เป็นเรื่องของการปฏิสัมพันธ์คนอื่น คือ ไม่เบียดเบียนก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น แก่สังคม ประเด็นที่สาม พระสงฆ์ในอำเภอเมืองจังวัดสุรินทร์การจัดฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานน้อยลง เป็นปัญหาทำให้จิตมนุษย์ขาดคุณสมบัติทั้ง ๓ ด้านคือ คุณภาพจิต สมรรถภาพจิต และ สุขภาพจิต ประเด็นที่สี พระสงฆ์อยู่อำเภอในเมืองขาดความรู้ความเข้าใจในการฝึกอบรมให้เกิดปัญญาถูกต้องตามวิธี สุตตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา
๔. ข้อเสนอแนะ การพัฒนาสังคมตามหลักภาวนา ๔ ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ประเด็นแรก คือ พระสงฆ์ในเขตพื้นที่ต้องจัดโครงการอบรมให้ประชาชนอย่างน้อยหนึ่งเดือนสองครั้งหรือทุกวันพระในวิธีการกินอาหารให้ได้คุณค่า กินพอดี ด้วยความรู้จักประมาณ ให้ร่างกายอยู่ผาสุก มีสุขภาพดี เป็นฐานให้การพัฒนาด้านอื่นๆ ประเด็นที่สอง พระสงต้องจัดให้มีการสมาทานศีล ทุกหมู่บ้านต้องถือศีล ๕ รักษาศีลให้บริสุทธิ การฝึกอบรมศีลให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน ประเด็นที่สามพระสงฆ์ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมจิตใจคือ สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน การเจริญจิต, การพัฒนาจิต, การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยคุณธรรม ประเด็นสุดท้าย คือเจ้าคณะจังหวัดและพระสังฆาธิการควรให้การศึกษาการอบรมให้มากขึ้น ในวิธีการเจริญปัญญา, การพัฒนาปัญญา, การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา
ดาวน์โหลด
|