หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » THACH SO VIET
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
บทบาทของครูพระสอนศีลธรรมต่อการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : THACH SO VIET ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  บัว พลรัมย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมต่อการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมในการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมต่อการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔, ๕ และ ๖ จำนวน ๔ โรงเรียนจากประชากร จำนวน ๑,๔๑๔ คน ด้วยตารางของ Taro Yamane จำนวน ๓๑๒ คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t–test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

               ๑. จากการศึกษาบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมต่อการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (๓.๙๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอน (๔.๑๓) ด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรการเรียนการสอน (๔.๐๖) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน (๓.๘๑) และด้านการจัดสื่อการเรียนการสอน (๓.๗๑)

 

               ๒. ผลการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมในการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนต่างกัน มีเพศ อายุ และระดับชั้นต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมต่อการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมติฐาน

          ๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของครูพระสอนศีลธรรมต่อการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอน  ครูพระต้องเป็นหลักที่จะต้องเข้าถึง และจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลายกว่า พร้อมทั้งคอยประสานงานกับพระสงฆ์ในเรื่องบางอย่างที่ครูไม่สามารถให้ความรู้แก่นักเรียนเท่าที่ควรได้อย่างเหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะในเรื่องของการสอนเสริม และจัดกิจกรรมบางชนิด ต้องพึ่งพาพระสงฆ์คอยให้ความร่วมมือและแนะนำ จึงจะทำให้ได้รับความรู้โดยตรง ด้านการจัดสื่อการเรียนการสอน ครูพระจะต้องเตรียมการสอน สื่อการสอน อุปกรณ์การสอน และเทคนิคต่างๆ ให้หลากหลาย โดยต้องใช้จิตวิทยาสอนกับเด็ก เพราะครูพระมีเวลาสอนเพียงสัปดาห์ละครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น ส่วนด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรการเรียนการสอน การที่โรงเรียนได้มีครูพระสอนมาช่วยสอน สามารถปลูกฝังศีลธรรมจริยธรรม และสามารถประยุกต์หลักธรรมในชีวิตประจำวันได้ ในขณะที่ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ในการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ควรมีการบอกล่วงหน้าให้เด็กนักเรียนได้รับรู้ เพื่อเตรียมตัวได้ทัน และมีการประสานงานกับทางโรงเรียนเพื่อให้หลักสูตรในการวัดผลและประเมินผลมีความตรงกัน และมีประสิทธิภาพในการประเมิน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕