บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองบัววงอำเภอลำทะเมนชัยจังหวัดนครราชสีมา (๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน จำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ (๓) เพื่อสำรวจปัญหา อุปสรรค และแนวทางการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองบัววงอำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยโดยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ ๑๖ ปีขึ้นไป ที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลหนองบัววง อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๓๔๖ คน ซึ่งใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายเปิดและปลายปิด ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One-way ANOVA ) ผลการวิจัยพบว่า
๑) การมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองบัววงอำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมาภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๖๙ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ๒ ด้าน คือ การมีส่วนร่วมด้านการรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๒๕ และ การมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๘๙ และ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ น้อย คือ การมีส่วนร่วมด้านการปฏิบัติการ ค่าเฉลี่ย๒.๔๒ และ การมีส่วนร่วมด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๒๔
๒) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองบัววงอำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองบัววงอำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมาไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
๓) การมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองบัววงอำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา๑) การมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจเทศบาลต้องส่งเสริมเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน และมีความจริงใจต่อประชาชน ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ประชุมในหมู่บ้านและให้ผู้ใหญ่บ้านนำเสนอปัญหาต่อเทศบาลควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจในกิจกรรมที่จะทำร่วมกัน๒)การมีส่วนร่วมด้านการปฏิบัติการควรมีการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่เทศบาลจะทำให้ชุมชน เทศบาลควรลงพื้นที่ตรวจสอบการทำงานร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เวลาที่เทศบาลจะทำโครงการอะไร ก็ขอให้ประชาชนได้ลงมติ ประชาคมจะดีที่สุดเพื่อได้ผลงานที่ตรงกับความต้องการของประชาชน๓) การมีส่วนร่วมด้านรับผลประโยชน์เทศบาลควรจัดงบประมาณให้เพียงพอต่อชุมชน โดยเท่าเทียมกันแต่ละหมู่บ้าน ควรจัดสรรงบประมาณลงพื้นที่ทุกชุมชน อย่างเพียงพอ เทศบาลต้องบริหาร บริการประชาชนให้ สะดวก รวดเร็ว และทันใจและ ๔)การมีส่วนร่วมด้านการประเมินผลเทศบาลควรมีเสียงตามสาย ตามหมู่บ้าน หรือมีวิทยุชุมชน เทศบาล เทศบาลต้องชี้แจ้งการทำงาน งบประมาณที่จัดสรรในแต่ละพื้นที่ให้ประชาชนเข้าใจและรับทราบควรมีการตรวจสอบข้าราชการประจำได้ และถ้ากระทำความผิดก็ให้ออกจากข้าราชการและเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างในการทุจริต
ดาวน์โหลด
|