บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อบทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์และ (๓)เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมบทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed Methodology Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในองค์การบริหารส่วนตําบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๓๘๔ คน ซึ่งใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๘ คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นคู่ ด้วยวิธี ผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ผลการวิจัยพบว่า ๑) บทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล ผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ๓.๒๖ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับบทบาทอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
๒) ผลการเปรียบเทียบ บทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล ผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้ต่อเดือนมีความคิดเห็นต่อบทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล ผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วน เพศ และ ระดับการศึกษามีความคิดเห็นต่อบทบาทการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล ผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
ดาวน์โหลด