บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ๒) เพื่อศึกษาการดำเนินการนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักธรรม สังคหวัตถุ ๔ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และ ๓) เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเป็นแบบผสม (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยกำหนดรูปแบบในการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน ๓๗๕ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๑๔,๖๐๓ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Simple Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดลองเป็นรายคู่โดยวิธีการแอลเอสดี (Least Significant Difference ; LSD) และการสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๑๕ คน โดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Techniques)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ทั้ง ๔ ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวม ๔.๐๔ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทั้ง ๔ ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านปิยวาจา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านทาน ด้านสมานัตตตา และด้านอัตถจริยา ตามลำดับ
๒. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ว่า ผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แตกต่างกัน ส่วนผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่ตรงตามสมมติฐานที่ว่าผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แตกต่างกัน
๓. ข้อเสนอแนะแนวทางทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักธรรมสังคห วัตถุ ๔ ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่พักอาศัยในในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ด้านทาน มีข้อเสนอแนะคือ เจ้าหน้าที่ทุกคนควรต้องดูแลเอาใจใส่ใจแนะนำ ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง แนะนำให้ความรู้วิธีการต่างๆ เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ และอำนวยความสะดวกด้วยการออกสำรวจพื้นที่ พูดคุย พบปะ ด้านปิยวาจา มีข้อเสนอแนะ คือ แนะนำให้บริการด้วยวาจาสุภาพ อ่อนหวาน เรียบร้อย พูดจาชัดเจนแต่สุภาพในการให้บริการ และทักทายต้อนรับด้วยวาจาสุภาพและใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ด้านอัตถจริยา มีข้อเสนอแนะ คือ แนะนำอาชีพหรือรายได้เสริมให้ทำในเวลาว่าง รองลงมา คือ แนะนำ สาธิต วิธีการออกกำลังกายให้ถูกต้องตามวัย ด้านสมานัตตตา มีข้อเสนอแนะ คือ การจัดลำดับคิวการให้บริการอย่างเสมอภาคโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ กรณีผู้สูงอายุที่มีอายุมาก ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ให้บริการก่อน วางตัวเหมาะสมในการให้บริการและเป็นกันเอง
ดาวน์โหลด
|