หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศศิจิต พร้อมสัมพันธ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๓ ครั้ง
การพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาวะของเด็กตามหลักภาวนา 4 :กรณีศึกษากลุ่มรักลูกให้ถูกธรรม(การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : ศศิจิต พร้อมสัมพันธ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูรัตนโสภณ
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 31 มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาวะของเด็กตามหลักภาวนา 4 เพื่อเปรียบเทียบความมั่นคงทางสุขภาวะของเด็กตามหลักภาวนา 4 ตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาวะของเด็กตามหลักภาวนา 4 ดำเนินการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods ) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลแบบคู่ขนานไปพร้อมกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 4-18 ปี จำนวน 185 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (T-Test) ความการผันแปรทางเดียวทางเดียว (One Way ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (LSD) เก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ จากผู้ปกครองของเด็กมาวิเคราะห์เนื้อหา อาศัยกระบวนการอุปนัยประกอบกับความรู้เชิงทฤษฏี

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

          1. เด็กกลุ่มรักลูกให้ถูกธรรม มีระดับการพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาวะในภาพรวม อยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าเด็กกลุ่มรักลูกให้ถูกธรรมมีระดับความมั่นคงทางสุขภาวะ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยที่ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านปัญญาภาวนา รองลงมาคือด้านสีลภาวนา และด้านจิตตภาวนา และขณะที่ด้านกายภาวนามีค่าเฉลี่ยการพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาวะน้อยที่สุด 

          2. ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาวะของเด็ก พบว่า มีหลายปัจจัยที่มีผลกับเด็ก คือ อายุ การศึกษาของเด็ก รายได้ของครอบครัว ความอบอุ่นของครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา และผ่านการฝึกอบรมจากกลุ่มรักลูกถูกธรรม มีระดับการพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนเด็กที่มี เพศ การพักอาศัย อาชีพของผู้ปกครอง การศึกษาของผู้ปกครอง มีการพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

          3. แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาวะของเด็กตามหลักภาวนา 4 พฤติกรรมที่เด็กควรได้รับการส่งเสริมมากที่สุดคือด้านกายภาวนา:ช่วยทำให้เด็กเกิดกระบวนการเข้าใจในการเลือกรับและปฏิบัติด้านกายภาวนาอย่างถูกต้องเหมาะสม เด็กเรียนรู้และฝึกตนในเรื่องของการดูแลชีวิตประจำวันไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้อื่น, ด้านสีลภาวนา: ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเมื่อเด็กต้องออกไปใช้ชีวิตภายนอก, ด้านจิตตภาวนา: ควรมีจิตใจที่เข้มแข็ง มั่นคง อดทนต่อสิ่งที่ทำให้ไม่พอใจ ด้านปัญญาภาวนา: ฝึกทักษะให้มีการใช้ชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ดี รูปแบบในการส่งเสริมประกอบด้วย 1) กิจกรรมขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่ยังไม่เคยได้รับการอบรมเพื่อสร้างความคุ้นเคยและสร้างความประทับใจให้เด็กอยากกลับมาฝึกต่อ 2) กิจกรรมสำหรับเด็กที่เคยรับการอบรมแล้ว สำหรับเด็กที่ต้องการฝึกต่อในระดับที่สูงขึ้น 3) กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยกันหาวิธีแก้ปัญหาให้แก่เด็กๆ และครอบครัว นำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันให้มีคุณภาพชีวิตดียิ่งขึ้น วิธีดำเนินการ คือ 1) ศึกษาปัจจัยพื้นฐานของเด็ก 2) ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้เรียน 3) จัดโปรแกรมการฝึกอบรมให้มีความเหมาะสมกับอายุ จำนวนครั้งที่ได้รับการอบรม         4) สร้างเครือข่ายจิตอาสาบริการสังคมสำหรับการฝึกอบรมเด็ก 5) สำรวจความคิดเห็น              นำไปประเมินผลหลังการเข้าอบรม ระดมความคิดหาแนวทางแก้ไข 6) ผู้ปกครองควรนำความรู้ไปปรับใช้กับเด็กขณะอยู่ที่บ้าน และ 7) เด็กควรได้รับการอบรมอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาตนเอง    และการพัฒนาชีวิตขั้นสูงที่ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕