หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » Phra Siwon Khankham
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
คุณภาพชีวิตของแรงงานลาวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : Phra Siwon Khankham ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปริยัติกิตติธำรง
  ณัฐพงศ์ สังวรวรรณ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานลาวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ๒) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานลาวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานลาวในเขตกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล ที่มีระยะเวลาตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไป มีจำนวน ๒๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของแรงงานลาวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาเอง โดยผ่านการตรวจ สอบคุณภาพของเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ ๕ ท่าน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

      ผลการวิจัยพบว่า

               คุณภาพชีวิตของแรงงานลาวค่อนข้างดีตามความเป็นจริงในด้านต่าง ๆ คือ ด้านสุขภาพ ด้านที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อม ด้านรายได้ ด้านสวัสดิการสังคม ด้านความก้าวหน้า/ทักษะในการทำงาน แรงงานมีความพึงพอใจและเหมาะสมกับงานที่ตนทำอยู่ และรายได้ที่ได้รับจากการทำงาน แรงงานไม่เคยเจ็บป่วยในช่วง ๖ เดือนที่ผ่านมา ส่วนที่ควรปรับปรุงคือ การได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานให้ดีขึ้น คือ ภาครัฐเข้ามาสอดส่องดูแลแรงงานให้มากยิ่งขึ้น เพิ่มมาตรการการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การว่าจ้างงาน ค่าจ้าง สวัสดิการต่าง ๆ สภาพความปลอดภัยในการทำงาน การพัฒนาฝีมือแรงงานและอาชีพให้แก่แรงงาน ผู้ประกอบการต้องเอาใจใส่ในการพัฒนาฝีมือแรงงานและสนใจที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานด้วย

                         ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานลาว พบว่า ปัจจัยทางด้านค่าตอบแทน ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การเดินทางมาทำงานของแรงงานลาวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทำให้แรงงานมีรายได้และสามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานและอำนวยความสะดวกสำหรับตน เช่น โทรศัพท์มือถือ ทีวี พัดลม หม้อหุงข้าวไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ และยังมีเงินส่งกลับบ้านให้พ่อแม่ได้ใช้จ่ายอีกด้วย

          ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานลาว พบว่า ด้านการศึกษาแรงงานมีการศึกษาเพียงระดับพื้นฐานจึงทำให้ขาดประสบการณ์ในการทำงานอาจจะยากต่อการทำงานในช่วงแรก ๆ และต้องใช้เวลานานในการศึกษางาน ด้านสวัสดิการแรงงานบางส่วนไม่ได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลเมื่อไม่สบายจากการทำงานจากนายจ้าง และด้านค่าจ้างแรงงานบางส่วนได้รับค่าแรงไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดทำให้รายได้ไม่พอใช้ต้องแก้ปัญหาด้วยการยืมจากเพื่อนร่วมงาน

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕