บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ๒.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสอนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ๓. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย เป็นผู้บริหารและครูสอนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ๑๐ โรงเรียน ๑๘๘ รูป/คน โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติหาค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test ทางเดียวแบบ One-way ANOVA
ผลการวิจัย พบว่า
๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นผู้บริหารและครูสอนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาพรวม ๕ ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการนิเทศภายใน ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้บริหารและครูผู้สอนต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาพรวม ตามสถานภาพ พบว่า บรรพชิตและคฤหัสถ์มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา แตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕ เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน บรรพชิตและคฤหัสถ์มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนรู้ และด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา แตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕ ส่วนด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านการนิเทศภายใน ที่ไม่แตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕
๓. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ตามเพศ พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ไม่แตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕ เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการนิเทศภายใน และด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ที่ไม่แตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕
๔. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ตามอายุ ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีความคิดห็นต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ด้านการนิเทศภายใน พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีอายุ ๓๐-๓๙ ปี มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ด้านการนิเทศภายใน มากกว่าผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีอายุ ๕๐-๖๐ ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕
๕. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษาด้านสามัญศึกษา พบว่ากลุ่มที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีกับกลุ่มที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ
๑. ด้านหลักสูตร ควรมีแนวทางการพัฒนาและเปิดโอกาสให้บุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และจัดอบรมสัมมนาด้านหลักสูตรแก่ครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
๒. ด้านกระบวนการเรียนรู้ ควรมีการจัดทำแผนการเรียนรู้ เพื่อเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้
๓. ด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ควรจัดนิเทศให้ความรู้วิธีการผลิตสื่อที่หลากหลายจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อสื่อเทคโนโลยีใหม่มาทดแทนของเก่าที่ชำรุดเสียหาย
๔. ด้านการนิเทศภายใน ควรมีการอบรมครูสอนก่อนเปิดภาคการศึกษาประจำทุกปี เพื่อปรับปรุงวิธีสอนและส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีการนิเทศภายในระหว่างครูด้วยกัน
๕. ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ควรออกแบบเครื่องมือวัดผลและประเมินผลให้สอดคล้องกับความรู้ของผู้เรียน มีกฎเกณฑ์ในการทดสอบ การวัดผลในหลายๆด้าน เช่น ด้านความรู้ ความขยัน และความเอาใจใส่ ควรมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลแก่ครูผู้สอน
ดาวน์โหลด
|