บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ ของบุคลากรทางการศึกษา ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษา ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑ จำนวน ๘ โรงเรียน ซึ่งรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่ง ซึ่งได้ค่าความสอดคล้องที่ ๐.๘ - ๑.๐๐ และค่าความเชื่อมั่นที่ ๐,๙๘ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าความ ถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA
ผลการศึกษาวิจัย
๑ บุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑ จำนวน ๒๗๕ คน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน ๒๓๑ คน มีอายุระหว่าง ๓๑ - ๔๐ ปี จำนวน ๑๖๔ คน กับอายุ ๔๑ - ๕๐ ปี จำนวน ๑๐๓ คน มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน ๑๖๖ คน เป็นครูจำนวน ๒๖๗ คน มีประสบการณ์ทำงานระหว่าง ๖ - ๑๐ ปี จำนวน ๑๖๑ คน โดยทั้งหมดอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดกลางจำนวน ๒๔๑ คน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก
๒ เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษา ต่างเห็นว่าการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้าน เห็นว่าในด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนสำคัญที่สุด ด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ตามลำดับ
๓ ปัญหา และแนวทางการบริหารงานวิชาการ ของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑ ใน ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เอกสารหลักสูตรมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ครูขาดความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรแกนกลาง ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงหลักสูตรสถานศึกษา ในการดำเนินการใช้หลักสูตรไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ส่วนในด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูขาดความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สถานที่และสิ่งแวดล้อมไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ขาดการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิทยาการจากภายนอกแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ งบประมาณที่ใช้ในการพัฒนา วิธีการจัดการเรียนรู้ไม่เพียงพอกับความต้องการ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน ครูขาดความรู้ในเรื่องการจัดทำเครื่องมือ วิธีการวัดผลประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดเก็บเอกสารการศึกษา การวัดผลและประเมินผลตามการเรียนไม่เป็นระบบ การจัดทำแผนการวัดผลประเมินผลการเรียนแต่ละรายวิชาไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การดำเนินการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนตามสภาพจริงขาดความต่อเนื่อง และด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การจัดอบรมความรู้ในเรื่องการทำวิจัยให้กับครูไม่ต่อเนื่อง งบประมาณในการจัดอบรมความรู้ให้กับครูในเรื่องการทำวิจัยไม่เพียงพอ ขาดการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อใช้เป็นประเด็นในการวิจัย ขาดการนำผลการวิจัยไปพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และสุดท้าย ด้านการนิเทศการศึกษา โรงเรียนมีบุคลากรไม่เพียงพอต่อภาระงานที่ต้องดำเนินการนิเทศ คณะกรรมการนิเทศมีภาระงานสอนมากจึงไม่มีเวลานิเทศ ขาดการนำวิธีการนิเทศที่หลากหลายมาใช้ การดำเนินการนิเทศภายในและการพัฒนาบุคลากรไม่ต่อเนื่อง
ดาวน์โหลด |