บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาบทบาทของคณะสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรม ๒. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของคณะสงฆ์ต่อการบริหารจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ และ ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการการศึกษา พระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ เขตบางคอแหลม เขตยานนาวาและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและพระภิกษุจำนวน ๒๐๑ รูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าเฉลี่ยร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบหาค่า t-test และ F-test (One–way ANOVA Analysis of Variance) ใช้ทดสอบผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่มากกว่าสอง กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
๑. บทบาทของคณะสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการ การศึกษาพระปริยัติธรรม เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา และเขตสาทร กรุงเทพมหานคร ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๒๓ เมื่อพิจารณาเน้นรายด้าน พบว่า ด้านแผนงาน มีแผนงานในการใช้งบประมาณแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจนอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ๓.๓๐ ด้านบุคคลมีการส่งเสริมความรู้ ความสามารถ ทักษะและทัศนคติที่ดีแก่บุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ๓.๕๘ ด้านงบประมาณ มีการตั้งคณะกรรมการบริหารการเงิน เมื่อพิจารณารายรับรายจ่าย ของโรงเรียนอยู่ ค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ๓.๔๖ ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน หลักสูตรมีสาระเน้นพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักคิดและแก้ปัญหาเป็น มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ๓.๖๕ ด้านสื่อการเรียนการสอนมีการสำรวจ ความต้องการ การใช้งานก่อนจะมีการซื้อวัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอนทุกครั้งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๒
๒. การเปรียบเทียบบทบาทของคณะสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการ การศึกษาพระปริยัติธรรม เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา และเขตสาทร จำแนกตาม อายุ พรรษา วุฒิการศึกษา สายสามัญ วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม และตำแหน่งหน้าที่
๓. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการ การศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา และเขตสาทร กรุงเทพมหานคร สรุปได้ดังนี้
๓.๑ ด้านแผนงานควรมีแผนพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนการศึกษาพระปริยัติธรรมให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของแต่ละสำนักเรียน และควรมีแผนจัดสรรงบประมาณของแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน
๓.๒ ด้านบุคลากร ควรจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านบริหาร จัดการศึกษา ทั้งระดับผู้บริหาร ระดับปฏิบัติการ
๓.๓ ด้านงบประมาณ ควรจัดหางบประมาณเพื่อสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมให้เพียงพอทุกๆด้าน
๓.๔ ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ควรมีการพัฒนาหลักสูตรพระปริยัติธรรมให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
๓.๕ ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรจัดหาสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนให้ทันสมัย กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน
ดาวน์โหลด
|