หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นิสิต ซุยซวง
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๐ ครั้ง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : นิสิต ซุยซวง ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม
  สุภกิจ โสทัด
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัย เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ศูนย์การ

ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร  มีวัตถุประสงค์เพื่อ

๑. ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร  ๒. เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขตบางคอแหลม  กรุงเทพมหานคร ๓. ศึกษา ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร

               รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และใช้แบบสอบถาม(Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๗๓  คน

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (T-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance)

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑.นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร  ทั้ง ๕ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๑๔ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  ๑. ด้านความพอประมาณ การจัดให้นักศึกษามีการเรียนรู้ การมัธยัสถ์ การอดออม ตามกำลังทรัพย์

ที่หามาได้ตามฐานะของตน  นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด   มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๖   

๒. ด้านความมีเหตุผล การส่งเสริมให้มีการเรียนรู้การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครอบครัวด้วยความ

ซื่อสัตย์ต่อตนเอง นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ๔.๑๙  

๓. ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว การจัดให้มีการเรียนรู้ถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๘   ๔. ด้านเงื่อนไขความรู้ การส่งเสริมให้มีความรอบรู้หลักวิชาการต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๕   ๕. ด้านเงื่อนไขคุณธรรม การส่งเสริมให้นักศึกษาปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๗  

  ๒.การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ โดยภาพรวม พบว่านักศึกษามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านรายได้ นักศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ และอาชีพ พบว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

             ๓.ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร พบว่า

                 ๓.๑ ด้านความพอประมาณ ขาดการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้านอาชีพเย็บปักถักร้อยเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ควรส่งเสริมด้านทักษะอาชีพให้นักศึกษามีความถนัดด้านอาชีพที่หลากหลายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

                    ๓.๒ ด้านความมีเหตุผล ขาดการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น ควรส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น  

               ๓.๓ ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ขาดการจัดให้เรียนรู้การใช้ปุ๋ย เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เพื่อปลูกพืช ผักสวนครัว เพื่อประหยัดในการใช้ปุ๋ยเคมี ควรส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

               ๓.๔ ด้านเงื่อนไขความรู้ ขาดการจัดให้เรียนรู้เรื่องรั้วกินได้ โดยปลูกผักสวนครัวแทนรั้ว ควรส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้การปลูกพืชผักสวนครัวกินได้แทนรั้ว

               ๓.๕ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ขาดการส่งเสริมให้นักศึกษารักษาสภาพแวดล้อมบริเวณให้สะอาด สงบ ปลอดภัยจากโจร ผู้ร้ายและยาเสพติด ควรส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้เรื่องการรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาด สงบ ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายและยาเสพติด

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕