บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อเสนอ แนวทาง และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ของข้าราชการครูที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือข้าราชการครูประจำปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๗ ของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ จำนวน ๓ โรงเรียน จำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง ๘๖ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๘๐) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ
ผลการเปรียบเทียบการศึกษาความคิดเห็น ที่มีผลต่อความคิดเห็นของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๘๐) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่าไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยเมื่อมองในภาพรวม และแบ่งเป็นกลุ่มตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ,อายุ,วุฒิการศึกษา,ตำแหน่ง และกลุ่มสาระการเรียนรู้ ก็พบว่าไม่แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงปฎิเสธสมมติฐาน และยังพบว่าแตกต่างกัน ยอมรับสมมติฐานการวิจัย เฉพาะสถานภาพส่วนบุคคล ดังนี้ วุฒิการศึกษา คือ ด้านภาพรวม ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ ด้านครูผู้สอน ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ และด้านเนื้อหา/หลักสูตร ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ดาวน์โหลด
|