บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑)เพื่อศึกษาสภาพการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม ๕ ๒)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม ๕จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ ๓)เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม ๕โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้จากการแบ่งกลุ่ม จำนวน ๑๘๐ คน ได้แก่ ผู้บริหาร ๕ คน ครู ๘๖ คน บุคลากร ๘๙ คน รวมทั้งหมด ๑๘๐ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)โดยวิธีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๗ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด Least Significant Difference : LSD) และสรุปข้อมูลจากข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัย พบว่า
๑.สภาพการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม ๕มี ๗ ด้าน ได้แก่ ๑)การเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปของเด็กพิการ ๒)การคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษาและการส่งต่อ ๓)การประเมินความสามารถพื้นฐาน ๔)การจัดทำแผนการให้บริการเฉพาะครอบครัว ๕)การให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม ๖)การประเมินความก้าวหน้า ๗)การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ด้านอัตถจริยา รองลงมาคือ การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ด้านทานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ด้านสมานัตตตาและการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ด้านปิยวาจาตามลำดับ
๒.ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรที่มีต่อการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม ๕ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม ๕ ไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุและตำแหน่ง ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม ๕ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓.ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม ๕ พบว่า๑.การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหาร ครู บุคลากรด้านทาน ต้องเป็นผู้ให้ มีความเสียสละ ให้เวลา อุทิศเวลาในการเอาใจใส่ ดูแลเด็กพิการ๒.การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหาร ครู บุคลากรด้านปิยวาจา ต้องพูดจาไพเราะกับบุคคลที่เกี่ยวข้องอ่อนหวาน จริงใจ๓.การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหาร ครู บุคลากรด้านอัตถจริยา ต้องมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย สงเคราะห์ผู้อื่นตามที่จะทำได้๔.การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหาร ครู บุคลากรด้านสมานัตตตา ต้องมีสงเคราะห์ด้วยความเต็มใจ และทำให้เป็นประจำสม่ำเสมอ
ดาวน์โหลด
|