บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑ มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑, ๒. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑ และ ๓. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑ ทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ๑. ด้านการวางแผนงานบุคคล ๒. ด้านการจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน ๓. ด้านการพัฒนาบุคคล ๔.ด้านการธำรงรักษาบุคคล และ๕. ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคล และลักษณะการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๓๐๒ คน ๓๗ โรงเรียนวิเคราะห์หาค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุตติฐานวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบ (One–way ANOVA) ในกรณีที่มีตัวแปรมากกว่า ๒ กลุ่ม
ผลการวิจัย มีดังนี้
๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นผู้บริหารและครูที่มีต่อการบริหารงานบุคคลผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ภาพรวม ๕ ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการธำรงรักษาบุคคล รองลงมา คือ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคล ด้านการวางแผนงานบุคคล และด้านการพัฒนาบุคคล ตามลำดับ
๒. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ ตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ผู้บริหารและครูที่มีความคิดเห็นต่างกันต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ภาพรวม ๕ ด้าน เพื่อหาหาค่า t-test และ F-test ทดสอบสมมติฐาน ปรากฏว่า ผู้บริหารและครูให้ความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ คือ ด้านการวางแผนงานบุคคล ด้านการจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาบุคคล ด้านการธำรงรักษาบุคคล ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคล ที่ไม่แตกต่างกัน
แนะแนวทางการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗
๑. ด้านการวางแผนงานบุคคล คือ ผู้บริหารควรกำหนดแผนงานอย่างเหมาะสม มีการคาดผลการวางแผนงานบุคลากรเป็นอย่างดี มีความรู้ในการวางอัตรากำลังอย่างถี่ถ้วน และวางแผนอัตรากำลัง ให้เหมาะสมกับงบประมาณที่ได้มาให้ทุกฝ่ายจะต้องมีส่วนร่วมวางแผนงานตามสถานการณ์
๒. ด้านการจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน คือ ผู้บริหารควรจัดครูให้เข้าปฏิบัติงาน โดยยึดหลักคุณธรรม ให้ครูมีส่วนร่วมการแสดงความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ครูเสนอแนะแนวทางการจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน ดูจากความสามารถ ความถนัด และวิชาเอกที่สำเร็จการศึกษา เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ พิจารณาความดี ความชอบอย่างเหมาะสมและยุติธรรม
๓. ด้านการพัฒนาบุคคล คือ ผู้บริหารควรมีการปฐมนิเทศครูตามความเหมาะสมมีการประชุม อบรม เป็นหมู่คณะ ตามความสนใจของครู เปิดโอกาสให้ครูได้พัฒนาเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ตามความสนใจ ตามสายงาน จัดสรรงบประมาณ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาครู ให้ครูนำมาพัฒนาและจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ที่สำคัญผู้บริหารต้องสร้างจิตสำนึกให้ครูมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง โรงเรียน และผู้รับบริการ
๔. ด้านการธำรงรักษาบุคคล คือ ผู้บริหารควรวางระเบียบปฏิบัติงานให้ชัดเจน มีการสวัสดิการให้ครูตามโอกาสอันสมควร มีการจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ให้ครูได้ใช้อย่างเพียงพอ มีการบริการด้านสุขภาพ ยกย่องชมเชยครูผู้มีผลงานดีเด่น และผู้บริหารต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของครูเป็นสำคัญ
๕. ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคล คือ ผู้บริหารควรมีรูปแบบและแจ้งผลการปฏิบัติงานให้ครูทราบอย่างต่อเนื่อง และนำผลการปฏิบัติงานมาใช้ในการประเมินผลงานของครูอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้ครูแสดงความคิดเห็นต่องานวิชาการ และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมประเมินผลงานครูอย่างเป็นรูปธรรม พิจารณาความดีความชอบจากผลงาน
ดาวน์โหลด
|