บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอท่าตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต ๓๒)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอท่าตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต ๓จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓)เพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำหลักธรรมพรหมวิหาร ๔ ไปใช้ในการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอท่าตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต ๓โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้จากการแบ่งกลุ่ม จำนวน ๑๙๔ คน ได้แก่ ผู้บริหาร ๒๘คน ครู ๑๖๖ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)โดยวิธีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๘ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน ๙ ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test), (F-test), และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด Least Significant Difference : LSD) และสรุปข้อมูลจากข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัย พบว่า
๑. สภาพการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา ใน
อำเภอท่าตะโก สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๓ มี ๕ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ด้านการวางแผนงาน ๒) ด้านการจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน ๓) ด้านการพัฒนาบุคคล ๔) ด้านการธำรงรักษาบุคคลและการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน๕) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มี ๒ ด้าน คือ ด้านการวางแผนงาน และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ ด้านด้านพัฒนาบุคคล
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานบุคคลตาม
หลักพรหมวิหาร ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอท่าตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๓โดยจำแนกตามเพศ และประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมติฐาน หากเปรียบเทียบตามอายุ และตำแหน่ง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐาน
๓. สำหรับแนวทางการส่งเสริมการนำหลักพรหมวิหาร ๔ ไปใช้ในการบริหารงาน
บุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอท่าตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๓ควรส่งเสริม ดังนี้ ๑) การวางแผนงาน ผู้บริหารต้องกำหนดนโยบาย โครงสร้างงานให้เป็นไปในแนวเดียวกัน มีการประชุมวางแผนร่วมกัน วางอัตรากำลังคนให้เหมาะสมกับงาน ๒) การจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน ผู้บริหารแต่งตั้งให้บุคลากรเข้าปฏิบัติงาน ตามความรู้ ความสามารถ และจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม ๓) การพัฒนาบุคลากร ผู้บริหารควรมีการนิเทศติดตามผลการดำเนินงาน บันทึกการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการหลังการนิเทศ จัดโอกาสให้บุคลากรได้เข้ารับการอบรม การศึกษาดูงาน และสนับสนุนการจัดทำผลงานทางวิชาการ ๔) การธำรงรักษาบุคคลและการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารการพิจารณาความดีความชอบและสวัสดิการต่างๆของบุคลากรอย่างโปร่งใส ชื่นชมและให้กำลังใจแก่บุคคลที่ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ จักต้องมีความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ๕) การประเมินผลการปฏิบัติงาน ประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรทุกคนอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการประเมินผลปฏิบัติงาน
ดาวน์โหลด
|