บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต ๒ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต ๒ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต ๒ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน ๓๗๔ คน คือผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต ๒ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยวิธีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๗ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์หาค่าที (t-test) ความแปรปรวนทางเดียว(f-test) (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด Least Significant Difference : LSD) และสรุปข้อมูลจากข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัย พบว่า
๑.ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต ๒ มี ๓ ด้านได้แก่๑) ด้านปัจจัยเบื้องต้นตามหลักไตรสิกขา ๒) ด้านกระบวนการตามหลักไตรสิกขา ๓.) ด้านผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ด้านผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุดส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านปัจจัยเบื้องต้นตามหลักไตรสิกขา
๒.ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต ๒ โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันทุกด้านตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ซึ่งมีนัยสำคัญที่ ๐.๐๕
๓.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยตามหลักไตรสิกขา มีดังนี้
๑) ด้านปัจจัยเบื้องต้นตามหลักไตรสิกขา ควรคำนึงถึงว่าพ่อแม่เป็นครูคนแรกและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก เป็นบุคคลคนแรกที่ลูกรู้จัก เป็นผู้ปลูกฝังความคิดและพัฒนาบุคลิกภาพ ตลอดจนค่านิยมต่างๆ ของสังคม ๒) ด้านกระบวนการตามหลักไตรสิกขาควรคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กในวัยนั้นๆ เป็นสำคัญ การศึกษาถึงพัฒนาการของเด็กจะช่วยให้เราเกิดความเข้าใจถึงธรรมชาติและลักษณะพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถจัดประสบการณ์ จัดการเรียนการสอน และอบรมเลี้ยงดูเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและ๓) ด้านผู้เรียนควรมุ่งให้เด็กพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังนั้นผู้สอนจึงควรมีหลักจิตวิทยาและความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน
ดาวน์โหลด
|