หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นฤมล นิลกรรณ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๒ ครั้ง
การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในกลุ่มสหวิทยาเขต ท่าศาลา-นบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : นฤมล นิลกรรณ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูมนูญธรรมธาดา
  วิโรจน์ พรหมสุด
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  ดังนี้  ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู ในกลุ่มสหวิทยาเขต ท่าศาลา-นบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู ในกลุ่มสหวิทยาเขต ท่าศาลา-นบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู       ในกลุ่มสหวิทยาเขตท่าศาลา-นบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๑๔๓ คน       กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยตารางการสุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตามระดับชั้นและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย              เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น .๙๓๗ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่า t-test ค่า F-test และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)

ผลการวิจัยพบว่า

๑) การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตท่าศาลา-  นบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ส่วนด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

 

๒) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในกลุ่ม        สหวิทยาเขตท่าศาลา-นบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ครูที่มีอายุต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตท่าศาลา- นบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนครูที่มีเพศ  ระดับการศึกษา  และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตท่าศาลา-นบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

๓) ข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในกลุ่ม     สหวิทยาเขตท่าศาลา-นบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  มีข้อเสนอแนะให้มีการศึกษา วิเคราะห์ความจำเป็นในการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน เสนอแนะให้มีการเทียบโอนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และผลการเรียนจากสถานศึกษาอื่น หรือสถานประกอบการอื่น ด้านการพัฒนาการเรียนรู้ เสนอแนะให้มีการส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสม และ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เสนอแนะให้มีการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสาระแกนกลางและความต้องการของสังคม ชุมชนและท้องถิ่น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕