บทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน ๑๘๔ รูป โดยเป็นการวิจัยแบบใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. พระสงฆ์มีส่วนร่วมในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (= ๓.๕๖๔) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่า พระสงฆ์มีส่วนร่วมในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ด้านการร่วมคิด ด้านการร่วมปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และด้านการร่วมตัดสินใจ ด้านการร่วมติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีส่วนร่วมสูงสุดคือ ด้านการร่วมปฏิบัติโดย มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๙๒ และด้านที่มีส่วนร่วมต่ำสุดคือ ด้านการร่วมติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย ๒.๙๒๖
๒. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยการทดสอบสมมติฐาน ผู้ตอบแบบ สอบถามที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในโครง การหมู่บ้านรักษาศีล ๕ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนที่มีวุฒิการศึกษาเปรียญธรรม แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ขาดการมีส่วนร่วมในด้านการวางแผนการทำงาน ต้องการระยะเวลาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานและการติดตามและประเมินผลของโครงการ ส่วนข้อเสนอแนะคือ ควรมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับศีล ๕ ทำการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร มีการร่วมมือกันในการทำงาน และสนับสนุนให้มีการนำข้อมูลจากการติดตามและประเมินผลมาใช้ประโยชน์และปรับปรุงแผนงานและโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า การดำเนินงานกิจกรรมโครงการ ควรมีการจัดประชุมระดับผู้ปฏิบัติเพื่อรับฟังความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจวางแผนดำเนินงานตามโครงการ โดยเลือกวิธีดำเนินงานในโครงการด้วยการร่วมตัดสินใจกำหนดเป้าหมายในโครงการ เพื่อให้ให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักศีล ๕ มาประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน และควรมีการติดตามและประเมินผลโครงการว่า การดำเนินการเป็นไปในแนวทางใด บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ เพื่อจะได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
ดาวน์โหลด |