หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุวรรณจันทนิวิฐ
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
ทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส ในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี (การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุวรรณจันทนิวิฐ ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส ในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี  ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส ในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี  ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสม  โดยใช้วิจัยเชิงปริมาณ  ใช้การวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือพระสงฆ์ที่มีอายุ ๒๐ปี ขึ้นไปเป็นประชากรในการศึกษา โดยเลือกพระสงฆ์ที่อยู่ในพื้นที่วัดในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน ๒๙๐ รูป จากจำนวนประชากร ๑,๐๓๒ รูป โดยใช้วิธี การสุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ (Talo Yamane)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีคือค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t- test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F – test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท  

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑)   ความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการการวัดของเจ้าอาวาส ในอำเภอด่านช้าง  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๓.๗๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ (  = ๓.๘๗) อยู่ในระดับมาก รองลงมาทักษะด้านความคิดรวบยอด (  = ๓.๘๓) รองลงมาทักษะด้านเทคนิค (  = ๓.๗๗) รองลงมาทักษะด้านความคิด (  = ๓.๗๑) และทักษะด้านการสอน (  = ๓.๖๙) อยู่ในระดับน้อยสุด

๒)    การเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส ในอำเภอด่านช้าง  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ พรรษา ระดับการศึกษานักธรรม ระดับการศึกษาเปรียญธรรม ระดับการศึกษาสามัญ ต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนพระสงฆ์ที่มีพรรษาต่างกันมีระดับการศึกษาเปรียญธรรมต่างกันมีความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกัน

๓)    ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีต่อทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสพบว่าทักษะเทคนิคของพระสงฆ์มีความสามารถทักษะเทคโนโลยีต่ำเมื่อเทียบกับการใช้งาน แต่ทักษะความสัมพันธ์ของมนุษย์พบว่าพวกเขาไม่ได้มีความสามารถในการบริหารจัดการการทำงานและร่วมทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับทักษะความติดว่าหลักการของการจักการการทำงานที่ไม่สมควร แต่ความคิดทักษะพบว่าพวกเขาใช้ความคิดเก่าและไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจและทักษะการเรียนการสอนพบว่าพวกเขาไม่ได้มีทักษะด้านการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจและสมควร สนับสนุนเจ้าอาวาสที่จะมีการจัดการที่วัดในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

               ข้อเสนอแนะ

      ๑. ทักษะทางเทคนิค พบว่า จัดสรรเวลาฝึกหัดเทคโนโลยี ให้มีความชำนาญ เพื่อจะได้นำเทคโนโลยีไปใช้ในการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส

                    ๒. ทักษะมนุษย์สัมพันธ์ พบว่า นำเสนอความชำนาญของแต่ละบุคคลที่มีความรู้แปลกใหม่เพื่อนำมาบริหาร

               ๓. ทักษะความคิดรวบยอด พบว่า คัดสรรค์หลักการบริหารโดยละเอียดให้ตรงกับงานการบริหารจัดการเชิงพุทธ

                    ๔. ทักษะความคิด พบว่า สร้างสรรค์การนำเสนอหลักการจัดการรูปแบบใหม่มุ่งเน้นหลักการบริหารหลักการตามแนวพุทธ

                   ๕.ทักษะการสอน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕