หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
รูปแบบการฝึกอบรมแบบ “ธรรมะโอดี”เพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุข (สันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา
  อุทัย สติมั่น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

วิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพภาคสนาม เรื่อง  รูปแบบการฝึกอบรมแบบ “ธรรมะโอดี” เพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุข มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีรูปแบบการฝึกอบรม (๒) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดี  (๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดีเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขในสังคมไทยปัจจุบัน

 

ผลการศึกษาพบว่า    

๑)  แนวคิดทฤษฎีการฝึกอบรมตามแนวทางวิทยาการสมัยใหม่ มีเทคนิคการสื่อสารธรรมที่น่าสนใจ มีการวิเคราะห์ผู้เข้าอบรม  มีอุปกรณ์และกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดการเรียนรู้ ซึ่งการฝึกอบรมแบ่งเป็นประเภท วิธีการ เทคนิค และเนื้อหาของการอบรมที่เหมาะสมกับองค์กร การฝึกอบรมเป็นการใช้กระบวนการกลุ่ม กิจกรรม การบรรยาย และการสื่อสาร ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต ส่วนแนวการสอนในพระพุทธศาสนาเถรวาท มีการเลือกใช้สื่อที่เอื้อให้ตามสถานการณ์ โดยให้พบกับเหตุการณ์จริง  ดังนั้นวิทยาการสมัยใหม่จึงเสริมให้หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีความน่าสนใจมากขึ้น    

๒) ผู้วิจัยเสนอการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดี  โดยมุ่งพัฒนาการดำเนินชีวิต เน้นวิธีการ “การบริหารคนก่อนบริหารงาน” (Life Skill) เพื่อความสุข ประสิทธิภาพและสัมพันธภาพในการทำงานเป็นทีม  พัฒนาให้เกิดความรัก ความสามัคคี  การเคารพให้เกียรติกัน จัดเป็นการสร้างสันติภาพในองค์กร เพื่อให้บุคลากรเกิด  ๔  ภาพ คือ ๑. สมรรถภาพ ๒. คุณภาพ ๓. สัมพันธภาพ และ  ๔. สุขภาพ  ภายใต้ “ชีวิตเบิกบาน  การทำงานเป็นสุข ”  การฝึกอบรมตามกระบวนการธรรมะโอดีนี้เป็นการเผยแผ่ธรรมตามแนวทางของพระพุทธเจ้า โดยการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกับวิทยาการสมัยใหม่  โดยการพัฒนาคนให้มีสันติภาพภายใน  เป็นการนำเอาหลักการ  กิจกรรมการมีส่วนร่วม  สื่อการสอนเพื่อสื่อสารหลักธรรมที่ร่วมสมัย  เทคโนโลยี  ภาษาที่เข้าใจง่าย ตัวอย่างจากเหตุการณ์ปัจจุบัน ด้วยวิธีการที่เรียกว่า “ฉลาดประยุกต์ สนุกมีสาระ”  โดยปรับศาสตร์เข้าหาพระพุทธศาสนา เป็นการฝึกอบรมแบบเชิงรุกเข้าหาองค์กร โดยยึดหลักการสื่อสารทางตะวันตก SMCR ของ “เดวิด เค.เบอร์โล (David K. Berlo)ในการสื่อสารธรรมประกอบด้วย ๑) ผู้ส่งสาร (Sender)  หมายถึง เกิดความแจ่มแจ้ง ชัดเจน   ๒)สาร (Message)   หมายถึงเกิดการ จูงใจ  ทำให้เกิดความศรัทธา ๓) ช่องทาง หรือ สื่อกิจกรรม (Channel) หมายถึง เกิดความแกล้วกล้า อยากจะนำไปประพฤติปฏิบัติ  และ๔) ผู้รับสาร (Receiver) หมายถึง  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความสุขสนุกสนาน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้  เกิดความร่าเริง  มีพลังศรัทธา เกิดปัญญา เปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น

 

๓) จากการวิเคราะห์  พบว่า องค์กรควรนำรูปแบบการฝึกอบรมแบบ “ธรรมะโอดี” (Dhamma OD Model for Strengthening Peaceful Organizations) มาใช้ ซึ่ง Dhamma หมายถึง ธรรมประยุกต์เพื่อการอบรมตามแบบ SMCR ของ “เดวิด เค. เบอร์โล (David K. Berlo)และ Strengthening Peaceful Organizations หมายถึงภาวนา ๔ คือ กาย ศีล จิต ปัญญา อันเป็นเป้าหมายของการพัฒนาเพื่อให้เกิดองค์กรสันติสุข   

ดังนั้น ผู้วิจัยได้ค้นพบ “องค์ความรู้ใหม่”   เป็นรูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุข คือ  “D H A M M A O D ”  ซึ่งเป็นรูปแบบการฝึกอบรมที่มีความเหมาะสมในสังคมไทยปัจจุบัน  ประกอบด้วย ๑) D  คือ ฝึกความมีระเบียบวินัย เคารพกติกาในการอยู่ร่วมกัน ๒) H คือ พัฒนาความเป็นมนุษย์ สร้างมนุษยสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกัน  ๓) A  คือ ฝึกความมุ่งมั่น ตั้งใจในการพัฒนาฝึกฝนตนเอง  ๔) M  คือ ฝึกสติ  รู้เท่าทันปัญหา สามารถแก้ปัญหา อยู่กับปัจจุบัน  ๕) M คือ  การฝึกสมาธิ  สร้างสันติภายในใจของตนเอง    ๖) A  คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ๗) O  คือ องค์กรแหล่งรวมบุคคลที่มีความแตกต่างกัน     ๘) D คือ การพัฒนาบุคลากรตามหลักภาวนา ๔    ซึ่งสามารถสอดคล้องกับ “หลักไตรสิกขา” คือ  ศีล  สมาธิ  และปัญญา  นำพาไปสู่องค์กรสันติสุข

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕