หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นิภาพร ปานสวัสดิ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๔ ครั้ง
การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพกับวิถีการสร้างบารมี ของพระโพธิสัตว์:การศึกษาวิเคราะห์(สันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : นิภาพร ปานสวัสดิ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา
  จันทรรัตน์ วงศ์อารีย์สวัสดิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

              การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ตามแนวคิดของพุทธทาสภิกขุ ๒) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของพยาบาลวิชาชีพดีเด่นที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติระดับประเทศ และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสอดคล้องของลักษณะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพดีเด่นกับวิถีการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์

 

 

              ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

 

ประเด็นที่ ๑ หลักการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ ตามแนวคิดของท่านพุทธทาสภิกขุ ประกอบด้วย 4 หลักสำคัญคือ สุทธิ ปัญญา เมตตา และขันติ “หลักสุทธิ” หมายถึงบุคคลผู้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลส มีจิตใจที่เบิกบาน “หลักปัญญา” หมายถึง มีความรู้ในสิ่งที่ตนควรรู้ที่สำคัญคือ รู้ถึงทางดับทุกข์ “หลักเมตตา” หมายถึง มีความไม่เห็นแก่ตัว มีมิตรภาพที่ดีต่อผู้อื่น เห็นทุกชีวิตเป็นเพื่อนเกิดแก่ เจ็บตาย และ“หลักขันติ” คือการใช้ความอดทนในการทำงานจนประสบความสำเร็จ 

 

ประเด็นที่ ๒ พยาบาลวิชาชีพดีเด่น ผู้ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติในปีพ.ศ.๒๕๕๗ เป็นผู้ที่มีเมตตากรุณา มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจริยธรรมสูง หมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอปรับปรุงตนเองให้เจริญงอกงามทั้งด้านสติปัญญาและการใช้คุณธรรม เป็นผู้ที่ประพฤติตนตามกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพ มีศีลธรรมอันดี เป็นแบบอย่างแก่คนทั่วไปและเพื่อนร่วมงาน เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รับผิดชอบในงานให้ประสบความสำเร็จดีเมื่อปฏิบัติหน้าที่วิชาชีพพยาบาล

          ประเด็นที่ ๓ ลักษณะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพดีเด่นมีความสอดคล้องกับวิถีการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ตามแนวคิดของท่านพุทธทาสภิกขุ ด้านหลักสุทธิ กล่าวคือ พยาบาลวิชาชีพมีความซื่อสัตย์ ความเสียสละ และความปรารถนาดี เจตนาดีในการแสดงออกทางกาย วาจา ใจเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ด้านหลักปัญญา กล่าวคือ พยาบาลวิชาชีพมีการพัฒนาความรู้ การพัฒนาความสามารถของตนเองในการถ่ายทอดความรู้และเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น ด้านหลักเมตตา กล่าวคือ พยาบาลวิชาชีพสร้างมิตรภาพดีต่อทุกคน มีความปรารถนาดีในการช่วยเหลือผู้อื่นให้คลายทุกข์ บรรเทาความเจ็บป่วย โดยปราศจากอคติ และหลักขันติ กล่าวคือ พยาบาลวิชาชีพใช้สติสมาธิ ใช้ความอดทนในการทำงานเพื่อความสำเร็จ และมีความสุขเบิกบานใจ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕