หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุภาพร ธวัชราภรณ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๕ ครั้ง
การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเครือข่ายที่ ๒๕ ในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของเยาวชน
ชื่อผู้วิจัย : สุภาพร ธวัชราภรณ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติมุนี (เทียบ สิริญาโณ)
  บุญเลิศ โอฐสู
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของโรงเรียนเครือข่ายที่ ๒๕ (๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของเยาวชนไทย ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเครือข่ายที่ ๒๕ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกมออนไลน์ที่มีผลต่อเยาวชนไทยตามหลักพุทธธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ

 

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของโรงเรียนเครือข่าย
ที่ ๒๕ มีสาเหตุหลักอยู่ ๒ ประการคือ  (๑) ปัจจัยภายใน ได้แก่ บุคลิกภาพของเด็กและเยาวชน
(๒) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน และสภาพแวดล้อม สำหรับหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของเยาวชนไทย ได้แก่ หลักโยนิโสมนสิการ หลักทิศ ๖ พรหมวิหาร ๔ และ สังคหวัตถุ ๔ ส่วนรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเครือข่ายที่ ๒๕ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกมออนไลน์ที่มีผลต่อเยาวชนไทยตามหลักพุทธธรรมนั้น คือ (๑) การทำให้เด็กและเยาวชน รู้จักความละอายต่อการทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมและไม่สมควร รวมทั้งทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อการทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมและไม่สมควร อันจะนำมาซึ่งลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขทำให้มีความมั่นใจและภูมิใจในตัวเองและผู้อื่น (๒) การทำให้บุคคลรอบข้างตัวเด็กและเยาวชน คิดอยู่บนฐานของกุศลจิตอันมีความเมตตากรุณาและความเสียสละ อันจะนำมาซึ่งลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขต่อตนเองและผู้อื่น ทำให้มีอานิสงส์ต่อเด็กและเยาวชนให้มีความมั่นใจและภูมิใจในตนเอง (๓) การทำให้เด็กและเยาวชนรวมทั้งบุคคลรอบข้างมีพฤติกรรมที่เกื้อกูลต่อกัน อันจะนำไปสู่ความสุขความเจริญ (๔) การทำให้เด็กและเยาวชนเป็นที่น่ายกย่องสรรเสริญว่าเป็นเด็กและเยาวชนที่ดีงามทำให้เด็กมีความมั่นใจและภูมิใจในตนเองและครอบครัว

 

ผลของการใช้หลักพุทธธรรม ที่มีต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนคือ เด็กและเยาวชน
คิดถูก คิดเป็น ปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้อง มั่นใจและภูมิใจในตนเอง เป็นที่รักและยกย่อง เข้าสังคมได้ดี ผลของการใช้หลักพุทธธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมของครอบครัวคือ พ่อแม่ให้ความรัก ความอบอุ่น และเป็นแบบอย่างที่ดี มีการฝึกสมาชิกให้มีระเบียบวินัย ปฏิบัติดีต่อกัน ยกย่องชื่นชม ให้กำลังใจ และ
ผลต่อพฤติกรรมการเรียน คือ เด็กและเยาวชนมาโรงเรียนตรงเวลา ส่งงานตรงตามเวลา เชื่อฟัง
คำสั่งสอนของคุณครู รู้หน้าที่ ชักนำเพื่อนไปในทางที่ดี คบเพื่อนดี และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕