หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อ้อมตะวัน สารพันธ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๔ ครั้ง
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : อ้อมตะวัน สารพันธ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประเสริฐ ปอนถิ่น
  ศรีธน นันตาลิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  ๑) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน        ๒) เพื่อศึกษาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่  ๓) เพื่อนำหลักธรรมอิทธิบาท ๔  มาประยุกต์ใช้ ในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่  การศึกษาวิจัยครั้งนี้  ดำเนินการตามระเบียบวิจัยแบบผสม (Mixed  Method  Research)  โดยเป็นการวิจัย        เชิงปริมาณ (Quantitative Research)  และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)       โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง  ตั้งแต่อายุ  ๑๘  ปีขึ้นไป           เป็นประชากรในการศึกษา  โดยเลือกประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาเมืองเมืองแกนพัฒนา  อำเภอ    แม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่  จำนวน  ๔๐๐  คน  จากจำนวนประชากร  ๑๑,๑๖๒  คน  และการวิจัย    เชิงคุณภาพ  ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant)  และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

             ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

             ๑) องค์ประกอบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่  ประชาชนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก                (  = ๔.๐๖ , S.D. = .๖๓๐) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน       สามารถเรียงลำดับความคิดเห็นของประชาชนได้ดังนี้  ความพึงพอใจด้านพื้นที่มีระดับสูงสุด            ( = ๔.๑๕ , S.D. = ๐.๗๗๙) 

             ๒) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่  พบว่าแหล่งท่องเที่ยวในเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนามีการดำเนินงาน              โดยเริ่มการเชื่อมโยงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวแยกเครือข่ายออกเป็น    กลุ่ม  ๑) กลุ่มเครือข่ายผู้บริหาร ๒) กลุ่มผู้นำชุมชน  ๓) กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน  ๔) กลุ่มเครือข่ายผู้ประกอบการ  เป็นเมืองที่คนมีอัธยาศัยดี  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีวิถีชีวิต          ที่น่าชื่นชมนักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสวิถีชีวิตธรรมชาติ   ศิลปะวัฒนธรรม  เมืองประวัติศาสตร์          มีพื้นฐานอาชีพเกษตรกร  และโดยอาชีพเกษตรยังคงเกื้อหนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้เป็นอย่างดี  สาระของแหล่งท่องเที่ยวในเทศบาลเมืองเมืองแกน มีต้นทุนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว  ดินดี  น้ำดี  ธรรมชาติดี  ศิลปวัฒนธรรม  อารยธรรมเก่าแก่  มีวิถีชีวิตดั้งเดิม          มีธรรมชาติที่งดงาม  มีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นของตนเอง  มีกลิ่นไอวิถีชีวิตท้องถิ่น  ความเชื่อมโยง    ในภูมิสถาปัตการท่องเที่ยว  มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบทั้งแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว                 มีอาสาสมัครมัคคุเทศก์ท้องถิ่น  มีเส้นทางเดินรถที่เข้าออก    เส้นทาง  ถนนแห่งการท่องเที่ยว      มีป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำนักท่องเที่ยว มีวัด  งานหนาวนี้ที่เมืองแกน  แหล่งเตาเผาอินทขิล  อนุสาวรีย์พระเจ้าสามฝั่งแกน  เสาหลักเมืองอินขีล และที่พักโฮมสเตย์  ไว้เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้เป็นอย่างดี

             ๓) การนำธรรมอิทธิบาท  มาประยุกต์ใช้ ในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่  หลักธรรมอิทธิบาทธรรม       ยังคงเป็นหลักธรรมการบริหารงานที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมายฉันทะ วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา      ความขยันหมั่นเพียรมีการเอาใจใส่ในงานรู้จักวิเคราะห์ ปรับปรุง แก้ไข พัฒนาจะสามารถ            เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการบริหารการพัฒนาการท่องเที่ยวได้ดี  นำมาปรับใช้             ในการทำงาน รักงานที่ทำ ขยันทำงาน รับผิดชอบงาน และรู้จักไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนการพัฒนา        การท่องเที่ยวก็จะเกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสมบูรณ์และยั่งยืนสืบไป

             ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย  ควรส่งเสริมโดยการดำเนินตามนโยบายวางไว้ไปปฏิบัติ    อย่างแท้จริง  อบรมมัคคุเทศก์น้อย  มัคคุเทศก์ท้องถิ่น  อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม สร้างงาน    ในชุมชนให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง  ทั้งในรูปแบบของการให้ความรู้  สร้างความเข้าใจและส่งเสริมการประยุกต์ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ให้เกิดผลได้  อย่างแท้จริง  เชิงปฏิบัติการ  ผู้บริหารเทศบาลจะต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ในการบริหาร                    มีความรับผิดชอบมีจิตสำนึกในการทำงาน คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก  คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ได้แก่ คน (บุคลากรและประชาชน) งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และอื่นๆ  อย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในชุมชนและเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้เกิดผลที่ชัดเจน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕