บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของ พระสังฆาธิการ ในเขตตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ๒. เพื่อศึกษากระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการ ๓. แนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการ มาประยุกต์ใช้ ในจัดการทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการ ในเขตตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-Interview) โดยการสัมภาษณ์พระสังฆาธิการ ในตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน ๑๒ รูป
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการ ในเขตตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน พบว่า ๑.ระยะการคัดเลือกหรือได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการ ในเขตตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน การที่จะเป็นเจ้าอาวาส หรือพระสังฆาธิการได้นั้นจะต้องพ้น ๕ พรรษาขึ้นไป ถ้าพระสงฆ์มีพรรษาน้อยกว่า ๕ พรรษา หรือมากกว่า ๕ พรรษา จะพิจารณาตามอายุ พรรษา คุณวุฒิ วุฒิการศึกษา และคุณสมบัติต่างๆ ๒.ระยะการควบคุมดูแลและรักษาทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีความยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และผู้ประเมินจะต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ในการประเมินผลเป็นอย่างดี ๓.ระยะสุดท้าย คือการพ้นจากงาน การจัดสวัสดิการตอบแทนหลังเกษียณหรือการพ้นจากงานในกรณีอื่นๆ เช่นการเจ็บป่วยอาพาธ หรือการมรณภาพ ของพระสังฆาธิการ ควรให้การสนับสนุนทางด้านการดูแลสุขภาพ ๔ ด้าน คือ ด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ถวายความรู้แก่พระสงฆ์
๒) กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการในเขตตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน พบว่า ๑. การจัดหาทรัพยากรมนุษย์การที่จะเป็นเจ้าอาวาส หรือพระสังฆาธิการได้ จะต้องพ้น ๕ พรรษาขึ้นไป ถ้าพระสงฆ์มีพรรษาน้อยกว่า ๕ พรรษา หรือมากกว่า ๕ พรรษา หรือถ้าคณะสงฆ์เห็นสมควรศรัทธาประชาชนเห็นสมควร ต้องสามารถพัฒนาวัดให้มีความรุ่งเรือง สามารถพัฒนาทั้งพระสงฆ์สามเณรให้มีความรู้ในเรื่องพระธรรมวินัย ๒. การให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ การให้รางวัลเล็กๆน้อยๆ ควรที่จะ ยกย่อง การปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ และสามารถพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ทางคณะสงฆ์จะสามารถ ชื่นชม ยกย่อง เพื่อยังคงความศรัทธา น่าเชื่อถือ และเคารพนับถือจากศรัทธาประชาชนร่วมทั้งคณะสงฆ์จังหวัดลำพูนและสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาองค์กร ๓. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กิจการคณะสงฆ์ทั้ง ๖ ด้าน คือ ด้านการปกครอง ด้านศาสนศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการ ด้านสาธารณสงเคราะห์ บริหารกิจกรรมคณะสงฆ์ ดังนั้นการพัฒนา ๓ อย่างนั่นจะทำให้พระสังฆาธิการในตำบลอุโมงค์ให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ให้การบริหารองค์กรคณะสงฆ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ๔. การธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ คณะสงฆ์มีบุคลากรที่ดีมีความสามารถและชำนาญชัดเจนความรู้ ความสามารถ ในแต่ละด้านและการเปิดโอกาสแก่คณะสงฆ์การธำรงรักษาตามหลักธรรมาภิบาล
๓) แนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการ ในเขตตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน คุณสมบัติดังกล่าว การพิจารณาตามอายุ พรรษา คุณวุฒิ วุฒิการศึกษา และคุณสมบัติต่างๆ ประชาชนมีความเคารพนับถือ เลื่อมใสศรัทธา พระสงฆ์สามเณรให้ความเคารพนับถือ พระครูหรือตำแหน่งสูงๆขึ้นไป ขึ้นอยู่ว่าแต่ละตำแหน่ง แต่ละตำแหน่ง เงินนิติยภัตไม่เท่ากับการปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ และสามารถพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ชื่นชม ยกย่อง เคารพนับถือจากศรัทธาประชาชน กิจการคณะสงฆ์ทั้ง ๖ ด้าน คือ ด้านการปกครอง ด้านศาสนศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการ ด้านสาธารณสงเคราะห์ พัฒนาในด้านความรู้ ความสามารถ นำสู่การพัฒนาองค์กรคณะสงฆ์
ดาวน์โหลด
|