บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจังหวัดสุพรรณบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจังหวัดสุพรรณบุรี ๑) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจังหวัดสุพรรณบุรี มีจำนวน ๑๗๖ รูป ทำการหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยนำไปกำหนดหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) การคำนวณหาขนาด/จำนวนตัวอย่างในกรณีที่สามารถรู้จำนวนหรือปริมาณประชากร ในที่นี้ประชากรได้แก่ นักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจังหวัดสุพรรณบุรี มีจำนวน ๑๗๖ รูป ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๒๒ รูป โดยแจกแบบสอบถามให้แก่นักเรียนตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๗ ถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๗ โดยใช้วิธีการวิจัย แบบผสม (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview ) โดยการแจกแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามทั้งหมดมาวิเคราะห์และประมวลผลโดยนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One.way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (LSD) ใช้บรรยายสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และระดับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจังหวัดสุพรรณบุรี
ผลการศึกษาพบว่า
1) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= ๓.๗๐, S.D. = ๐.๕๒๓) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจังหวัดสุพรรณบุรี ด้านหลักสูตร อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= ๓.๙๓,S.D. = ๐.๖๗๓) รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (= ๓.๙๒, S.D.= ๐.๖๖๑) และด้านการวัดผลและประเมินผล ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (= ๓.๐๘, S.D. = ๐.๕๗๘)
2) ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจังหวัดสุพรรณบุรีสถานภาพทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างนำไปสู่สมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่มีสถานภาพพรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ และวุฒิการศึกษาแผนกบาลีต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ นักเรียนที่มีอายุและระยะเวลาที่สังกัดอยู่ภายในวัด ต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า มีสำนักเรียนน้อยจนถึงน้อยมาก การศึกษาบาลีเป็นของยากลำบากทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องอาศัยความจำและความเข้าใจ หลักสูตรอภิธรรมนั้น ค่อนข้างที่จะเน้นเฉพาะความจำเป็นหลักสูตรที่เน้นความจำ ใครจำได้ก็สอบได้ ใครจำไม่ได้ก็สอบไม่ได้ ต้นทุนที่จัดการเรียนการสอนวิชาบาลี ในต่างจังหวัดมีปัญหาและอุปสรรคมาก ๆ เพราะการเรียนบาลีต้องใช้ต้นทุนที่ค่อนข้างสูง อุปสรรคเกี่ยวกับสำนักเรียนต่างจังหวัดมีสื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอหรือบางสำนักเรียนไมมีเลย เมื่อนักเรียนสอบได้ควรมีการให้รางวัลเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่นักเรียน
ดาวน์โหลด
|