หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสังฆรักษ์ธีรศักดิ์ วิสุทฺธิปุตฺโต (จันทร์เกตุวงษ์)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี(การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสังฆรักษ์ธีรศักดิ์ วิสุทฺธิปุตฺโต (จันทร์เกตุวงษ์) ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           

          การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พระสงฆ์ที่อาศัยอยู่ในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๑๙๘ รูป ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างตามระดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๐๑ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency)  ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยใช้ค่าเอฟ (F-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสามกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปและเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการศึกษาพบว่า

๑. พระสงฆ์ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=๔.๓๘, S.D. = ๐.๔๕๖) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านบทบาทในการประเมินผล อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= ๔.๔๑,S.D. = ๐.๕๔๖) รองลงมา คือ ด้านบทบาทในการตัดสินใจ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (= ๔.๔๐, S.D.= ๐.๔๕๒) และด้านบทบาทในผลประโยชน์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด  (= ๔.๓๔, S.D. = ๐.๕๖๗)

๒. บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มี อายุ วุฒิการศึกษาแผนกสามัญ วุฒิการศึกษาแผนกนักธรรม  วุฒิการศึกษาแผนกบาลี และประสบการณ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ต่างกัน มีบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพระสงฆ์ที่มีพรรษาที่ต่างกัน มีบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกัน ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า มีลำดับขั้นตามตำแหน่งทำให้การตัดสินใจบางครั้งต้องเป็นไปตามลำดับตำแหน่งจะทำให้การทำงานช้าลง ทุก ๆ คนขาดความร่วมมือกันในการร่วมแรงร่วมใจเพื่อมาร่วมทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว  และสังคม

        ๔. แนวทางส่งเสริมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงามนั้น คือ ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ได้มีการรวบรวมไว้แล้ว และที่ยังไม่ได้ศึกษา แต่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกแห่ง    ผู้ศึกษาค้นคว้า จะได้ทราบความหมายและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้ ความรู้ดังกล่าวจะเป็นรากฐานของชีวิตเมื่อได้เห็นคุณค่า จะเกิดการยอมรับและนำไปใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมและแพร่หลาย และส่งเสริมให้ชนทุกหมู่เหล่าเห็นคุณค่า และร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยน และตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่น ๆ และวัฒนธรรมภายนอกอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ โดยใช้ศิลปวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันอีกด้วย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕