หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อรัญญ์รพี ปัญญาคุณาภรณ์
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : อรัญญ์รพี ปัญญาคุณาภรณ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ๒)  เพื่อเปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ           ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์

ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกานวิจัยคือ บุคลากรในองค์กรศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน  ๒๒๖ คนจากบุคลากรทั้งหมดจำนวน ๕๕๔ คนโดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่  (Taro  Yamane)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๖๘ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test)  และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.) และนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบคำถามปลายเปิด และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative.Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก      (In-Depth.Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  (Key Informants) จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= ๔.๐๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการยอมรับนับถือ(= ๔.๑๓) ด้านความพึงพอใจในงาน (= ๔.๐๖) ด้านโอกาสความก้าวหน้า(= ๔.๐๖) ด้านผลประโยชน์ตอบแทน
(= ๓.๙๕) ซึ่งทุกด้านอยู่ในระดับมาก

๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า บุคลากรที่มี อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง สถานภาพ เงินเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมติฐานการวิจัย ส่วนบุคลากรที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ งานตุลาการเป็นงานบนความขัดแย้งของคู่ความมักมีปัญหาอุปสรรคให้แก้ไขเสมองานตุลาการนับวันแต่จะเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันและอนาคต และตุลาการไปประกอบอาชีพอื่นไม่ได้ งานหนักขึ้น ค่าตอบแทนไม่เพียงพอแต่การดำเนินชีวิตอย่างสมเกียรติและภาคภูมิไม่ได้เข้ารับการอบรมเนื่องจากไม่มีคนปฏิบัติงานในวันและเวลาราชการแทนเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อาจมีบ้างที่ผู้พิพากษาบางคนประพฤติไม่ดีจึงส่งผลต่อภาพรวมขององค์กรศาลยุติธรรมได้ ส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีการจัดทำคู่มือรวบรวมปัญหาสำคัญ ๆ ที่ต้องแก้ไขและมีแบบในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันควรมีการทบทวนค่าตอบแทนว่าคุ้มกับภาระหน้าที่ที่ตุลาการในปัจจุบันต้องแบกรับหรือไม่ ควรมีการปรับเพิ่มค่าตอบแทนเห็นควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่เพิ่มเวลามีการอบรมจะได้ไปร่วมได้และต้องคัดกรองผู้ที่จะมาเป็นผู้นำฯ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕