บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ ธรรม ต่อการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๑๘๐ คน จากพนักงานทั้งหมดจำนวน ๓๒๔ คน โดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ๐.๗๖๓ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage)ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.) และนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบคำถามปลายเปิด และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative.Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth.Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน องค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง( =๒.๐๕, S.D=๐.๗๑)เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน องค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ด้านการผูกพันต่อองค์การสร้างระบบการสื่อสารที่ดีมีระดับสูงสุด ( =๒.๕๑, S.D=๐.๖๔) รองลงมา คือ ด้านการผูกพันต่อองค์การช่วยแก้ไขหรือลดความขัดแย้ง ( =๒.๓๗, S.D.=๐.๗๑ ) รองลงมา ด้านการผูกพันต่อองค์การก่อให้เกิดความไว้วางใจกัน ( =๒.๐๔, S.D=๐.๔๗) รองลงมา คือ การผูกพันต่อองค์การช่วยแก้ไขหรือลดความขัดแย้ง ( =๑.๙๙, S.D.=๐.๔๒) รองลงมา คือ ด้านการผูกพันต่อองค์การจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น( =๑.๙๒, S.D=๐.๒๘) และ อันดับสุดท้าย คือ การผูกพันต่อองค์การจะขจัดการป้องกันตนเอง การผูกพันต่อองค์การจะลดความเห็นแก่ตัวลง( =๑.๔๖, S.D=๐.๑๗)
๒) ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน องค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า บุคลากรที่มี อายุ ระดับการศึกษา รายได้และอายุราชการ ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนพนักงานมี เพศต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมติฐานการวิจัย
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน องค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ พนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ไม่เข้าใจในการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรม เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพยุหะคีรีไม่มีการนำหลักสังคหวัตถุธรรม มาใช้ในการสร้างผูกพันต่อองค์การช่วยแก้ไขหรือลดความขัดแย้งองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพยุหะคีรีไม่มีการอบรมหลักสังคหวัตถุธรรม ในกับพนักงาน ข้อเสนอแนะ พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพยุหะคีรีควรนำหลักสังคหวัตถุ ธรรมมาส่งเสริมในการสร้างการผูกพันต่อองค์การจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้เร็วขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพยุหะคีรีควรนำหลักสังคหวัตถุธรรม มาส่งเสริมในการสร้างผูกพันต่อองค์การช่วยแก้ไขหรือลดความขัดแย้งควรส่งเสริมให้พนักงานเข้าใจในประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ ธรรม เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์การบริหารส่วนตำบล
ดาวน์โหลด
|