บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการนำหลักภาวนา ไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของกองบำรุงทางเขตลำปาง จำนวน ๒๑๓ คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ ๑๓๙ คน จากนั้นใช้วิธีการจับฉลากและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi – SquareTest) ( ) ในส่วนของข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นจะทำการวิเคราะห์ โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูลสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. บุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปาง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน ๑๓๑ คน คิดเป็น ร้อยละ ๙๔.๒ มีอายุระหว่าง ๓๑ – ๔๐ ปี และ ๔๑ – ๕๐ ปี จำนวน ๔๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๑ ระดับการศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน ๑๐๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๗ มีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ๑๐ – ๒๐ ปี จำนวน ๕๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๗ มีตำแหน่งอื่นๆ (ลูกจ้างเฉพาะงาน, ช่างฝีมือ) จำนวน ๑๒๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๕ และมีรายได้ ๑๐,๐๐๑ – ๓๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๙
๒. ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ของบุคลากรกองบำรุงทาง เขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย พบว่า บุคลากร มีระดับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๕๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านสีลภาวนา จิตตภาวนาและปัญญาภาวนา อยู่ในระดับมาก ส่วนในด้านกายภาวนาอยู่ในระดับปานกลาง
๓. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามหลักภาวนา ของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปาง การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน ตำแหน่ง และรายได้ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษามีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรกองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทยในทุกด้าน
๔. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา ของบุคลากร กองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย พบว่า ด้านกายภาวนา มีปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากร บุคลากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ควรเพิ่มอัตรากำลังหรือเพิ่มจำนวนบุคลากรให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ด้านสีลภาวนา คนภายในองค์กรขาดความสามัคคี ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้าง การมีปฏิสัมพันธ์กันภายในองค์กร เพื่อให้เกิดความรัก สามัคคีต่อกัน ด้านจิตตภาวนา ปัญหาการความท้อแท้ในการทำงาน เมื่อเจออุปสรรค ควรมีการจัดปฏิบัติธรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจให้มีสภาวะเข็มแข็ง สามารถเผชิญต่อปัญหา อุปสรรคที่จะต้องพบเจอในการปฎิบัติงานได้ในทุกรูปแบบ ด้านปัญญาภาวนา การทำงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ได้ใช้ศักยภาพ ของตนเองในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ควรเปิดโอกาสบุคลากรได้ใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในสถานการณ์คับขัน ได้ เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
๕. ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของวิธีการเสริมสร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับหลักภาวนา ในส่วนของการพัฒนา ในด้านต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเกิดผลดีต่อทั้งผู้ปฏิบัติงาน และองค์กรในภาพรวม
ดาวน์โหลด
|