หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ขวัญนภา ยาจันทร์
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การบริหารจัดการกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ขวัญนภา ยาจันทร์ ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญโญ
  นิกร ยาอินตา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการก่อเกิดและพัฒนาการเกี่ยวกับกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ๒) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน     ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการที่ดีในการบริหารจัดการกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ คณะกรรมการกองทุน สมาชิกกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน จำนวน 15 คน โดยผู้วิจัยได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างสำหรับนำมาใช้ในกระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth interview) อันมีหลักเกณฑ์ประการสำคัญในการพิจารณาคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างดังต่อไปนี้ ๑) กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะเป็นบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน ๒) กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะเป็นบุคคลที่มีการแสดงตนหรือมี        การปฎิสัมพันธ์ กับการบริหารกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ๓) กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะที่มีประสบการณ์ตรงในการดำเนินงานของกองทุน      ออมทรัพย์สวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน คือ แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดย  การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

๑. กองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นระบบสวัสดิการที่สร้างความเข้มแข็งของชุมชนตำบลอุโมงค์ให้สามารถพึ่งตนเองและดูแลกันเอง ตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป้าหมายคือให้บริการประชาชนที่เป็นสมาชิกกองทุนและผู้ยากไร้ด้วยความเต็มใจ ร่วมกันบริหารจัดการและร่วมกันรับผลประโยชน์ จึงเป็นกองทุนที่ ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ มีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก ครอบคลุมด้านต่างๆ จำนวน  24  ข้อ มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจนสอดคล้องกับภาระงานที่เกิดขึ้น บริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามหลักธรรมาภิบาลและนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา       คือ หลักสังคหวัตถุ 4  คือ การสงเคราะห์ช่วยเหลือกันและการรู้จักแบ่งปันทรัพย์ที่ตนเองมีอยู่

       ๒. การบริหารจัดการที่ดีของกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์ คือ        1) ด้านการบริหารจัดการกองทุน มีการจัดสวัสดิการ ครอบคลุมด้านต่าง ๆ มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจนสอดคล้องกับภาระงานที่เกิดขึ้น 2) ด้านการจัดสวัสดิการชุมชนที่ช่วยเหลือครอบคลุมทุกด้าน 3) ด้านความเชื่อมั่นในกองทุน การเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนครอบคลุมประชากรทั้งตำบลและทุกช่วงวัย 4) ด้านการมีส่วนร่วม เป็นการก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนองค์กรหรือเครือข่าย 5) ด้านการพัฒนา คือหัวใจสำคัญของพัฒนากองทุนทุกด้าน เช่น คณะกรรมการ        ด้านเครื่องมืออุปกรณ์ ด้านการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินการ 6)ด้านการสร้างเครือข่าย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นการผนึกกำลังเพื่อเป็นการต่อรอง ต่อรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและด้านงบประมาณ ซึ่งแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์ในอนาคต คือ ๑) การเพิ่มสมาชิกกองทุน ๒) การปรับเปลี่ยนโครงสร้างกฏระเบียบกองทุน ๓)  สร้างระบบฐานข้อมูลการเชื่อมโยงฐานข้อมูล ๔)  การจัดทำบริหารความเสี่ยง

    ๓. ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาและการพัฒนา จัดฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพด้านความรู้แก่คณะกรรมการ ด้านการวางแผนบริหารจัดการที่ดี การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบอยู่ตลอดเวลา การระดมทุนจากหลายภาคส่วน การวิเคราะห์สถานการณ์กองทุนให้เป็นปัจจุบัน     เปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกองทุน เสริมสร้างจิตสำนึกให้มีความรักความหวงแหนกองทุน โดยไม่ใช้เป็นเครื่องมือหรือหาผลประโยชน์ ให้บริการผู้พิการ    สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่คณะกรรมการ เช่น ประชาสัมพันธ์ ยกย่อง เชิดชู ความเสียสละในการทำงานเพื่อส่วนร่วม นอกจากนี้ ภาครัฐควรเร่งรัดในการจัดทำกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทางการเงินเพื่อเอื้อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนเงินงบประมาณ ภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพิ่มศักยภาพให้คณะกรรมการบริหารกองทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพและเกิดความโปร่งใสและยั่งยืนของกองทุน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕