บทคัดย่อ
ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกานวิจัยคือ ข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จำนวน ๑๗๓ นาย จากประชากรจำนวนข้าราชการตำรวจ ๓๐๔ นาย โดยการคำนวณจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ ๐.๙๔๗ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบคำถามปลายเปิด และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative .Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth.Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ โดยภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (= ๓.๕๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน (= ๓.๖๙) ลัทธิธรรมนูญนิยม = ๓.๕๔) ค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม (= ๓.๕๒) สภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพอนามัย (= ๓.๕๒) จังหวะชีวิตโดยส่วนร่วม (= ๓.๕๑) การคำนึงถึงความต้องการทางสังคม (= ๓.๔๙) โอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของบุคคล (= ๓.๔๗) การบูรณาการทางสังคม (= ๓.๔๒)
๒) การเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการตำรวจที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และระดับยศ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนข้าราชการตำรวจที่มีสายปฏิบัติงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
๓) ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ รายได้และค่าตอบแทนประจำเดือนอยู่ในระดับต่ำไม่เพียงพอ ค่าตอบแทนน้อยหรือค่าครองชีพน้อยกว่าอาชีพอื่นๆ สภาพการทำงานที่ยังขาดความปลอดภัย อุปกรณ์และเครื่องมือไม่ทันสมัยไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ยังไม่มีการส่งเสริมในเรื่องการพัฒนาสมรรถภาพการทำงาน ขาดงบสนับสนุนเรื่องการพัฒนาสมรรถภาพจากหน่วย หน่วยงานไม่มีการจัดส่งไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ขาดการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาในด้านความก้าวหน้า หน่วยงานไม่สนับสนุนเรื่องเงินทุนและค่าใช้จ่ายการบูรณาการทางสังคม หน่วยงานไม่สนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือในการบูรณาการทางสังคม ผู้บังคับบัญชายังมีกฏข้อบังคับอยู่บ้างในการแสดงความคิดเห็น ผู้บังคับบัญชายึดระเบียบมากเกินไป หน่วยงานยังยึดติดที่บังคับให้ตัวบุคคลต้องสละทุกสิ่งต่อหน่วยงานแต่ลืมไปว่าครอบครัวนั้นก็สำคัญ ผู้บังคับบัญชาเน้นเรื่องการทำงานมากกว่างานส่วนรวม ความต้องการของสังคมต้องการให้หน่วยงานรับผิดชอบต่อสังคมทุกๆอย่าง แต่สังคมไม่เคยชื่นชอบหรือให้ความสำคัญ การตอบรับจากการทำงานทางสังคมไม่เป็นที่ยอมรับ
ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรปรับค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ควรมีการแบ่งค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม ควรมีมาตรฐานหลักประกันในความปลอดภัยในการทำงาน ควรจัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัยให้เพียงพอต่อบุคลากร ควรส่งเสริมในเรื่องการพัฒนาสมรรถภาพการทำงาน ควรสนับสนุนงบประมาณเรื่องการพัฒนาสมรรถภาพจากหน่วย ควรมีการจัดส่งเสริมให้มีการได้รับการศึกษาในระดับสูง ผู้บังคับบัญชาควรสนับสนุนส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความก้าวหน้า ควรสนับสนุนเรื่องเงินทุนและค่าใช้จ่ายการบูรณาการทางสังคม สนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือในการบูรณาการทางสังคม ควรให้ความรู้ความเข้าใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้มากขึ้นอีก ควรยืดหยุ่นในการนำมาใช้ปฏิบัติจริง ควรจัดตัวบุคคลหรือบริหารให้ลงตัวมากกว่านี้ ควรศึกษาและยืดหยุ่นรูปแบบการทำงาน
ควรให้ความสำคัญให้มากขึ้นแลปลูกฝังความรู้สึกที่ดีเพื่อลบภาพไม่ดีออกจากสังคม ต้องการให้สังคมยอมรับและเชื่อถือการทำงานของข้าราชการตำรวจ
ดาวน์โหลด
|