หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสมุห์รัฐกร สนฺตจิตฺโต (ตานที)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสมุห์รัฐกร สนฺตจิตฺโต (ตานที) ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโสภิต
  ศรีธน นันตาลิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

            

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรสถานศึกษาและคณะกรรมการนักเรียนเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรสถานศึกษาและคณะกรรมการนักเรียนเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ และ ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑) บุคลากรสถานศึกษา ประกอบด้วย คณะกรรมการโรงเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และ ๒) คณะกรรมการนักเรียน ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๒๐๗ รูป/คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยเทียบสัดส่วนตามขั้นตอนคือ ทำการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จรูปของ R.V.Krejcie&D.W.Morgan หาขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากร แต่ละประเภทด้วยการเทียบสัดส่วน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ในส่วนของคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูล (Data Grouping) สาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑.    ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคลากรสถานศึกษาและคณะกรรมการนักเรียนเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๙) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารทั่วไป อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารบุคคล และด้านการบริหารงบประมาณ

๒.    ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรสถานศึกษาและคณะกรรมนักเรียนเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างพบว่าบุคลากรสถานศึกษากับคณะกรรมการนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓.    ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค พบว่า ด้านการบริหารวิชาการคือ โรงเรียนขาดการประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษาในชั้นเรียน ด้านการบริหารงบประมาณ คือ งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานส่วนกลางมีจำกัด ด้านการบริหารงานบุคคลคือ การอบรมและพัฒนาทักษะทางวิชาการไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอและด้านการบริหารงานทั่วไป คือ อาคารสถานที่ไม่เพียงพอ และการจัดสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเรียนการสอน

๔. ผลการศึกษาแนวทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่า ด้านการบริหารวิชาการ คือ ให้การสนับสนุนในการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ด้านการบริหารงบประมาณ คือ ขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลางและหน่วยงานภายนอกมากขึ้นด้านการบริหารงานบุคคล คือ ให้การสนับสนุนบุคลากรในการพัฒนาทักษะและความรู้ทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและด้านการบริหารงานทั่วไป คือ การปรับปรุงอาคารสถานที่ให้เอื้อต่อการจัดการศึกษา

๕.    ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความพยายามปฏิรูประบบการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้มีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยนำสภาพปัญหาไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการการศึกษาของคณะสงฆ์มากขึ้น โดยพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ในชุมชนให้มีศักยภาพในการเพิ่มพูนองค์ความรู้ และทักษะใหม่ๆ ให้แก่นักเรียน ภายใต้การจัดสรรงบประมาณที่มีจำกัด

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕