บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนของพระสงฆ์อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ตามความคิดเห็นของประชาชน ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนของพระสงฆ์อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนของพระสงฆ์อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบของ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๙๕ คน จากประชาชนทั้งหมดจำนวน ๓๑,๘๙๐ คน โดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๒๔ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.) คำถามปลายเปิด เป็นความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบ และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative.Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth.Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนของพระสงฆ์อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเพราะ ( =๓.๖๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาของแต่ละท้องถิ่น ( =๓.๗๒) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรม ( =๓.๖๙) ด้านการมีส่วนรวมในการลงทุนและการปฏิบัติงาน ( =๓.๖๘) ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน ( =๓.๕๙)
๒) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนของพระสงฆ์อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่างกัน การมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนของพระสงฆ์อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐาน
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนของพระสงฆ์อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ พระสงฆ์มีส่วนร่วมในการลงทุนเช่น วัสดุ อุปกรณ์ เงินทุน เพื่อสนับสนุนในการทำสินค้าที่มีอยู่ภายในชุมชน หรือมีความรู้ในการผลิตสินค้า หรือพัฒนาสินค้าให้ดีมากขึ้น แต่ก็ไม่ค่อยที่จะให้ความร่วมมือมากเท่าที่ควร และไม่ค่อยเสียสระในการติดตามและประเมินผลในเรื่องของการ ร่วมกันระหว่างแผนงานของ พระสงฆ์ กับ ประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหา ประชาชนขาดโอกาสการคิดริเริ่มและมีพลังในการทำงานร่วมกันกับพระสงฆ์ ข้อเสนอแนะ มีการปรึกษาหาลือกันในเรื่องการลงทุนและและเป็นผู้สนับสนุนในการหาตลาดในการขายสินค้า หรือกระจายสินค้า ควรมีความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนและคณะสงฆ์ด้วยเพื่อมีประสิทธิภาพประชาชนควรได้รับโอกาสเข้าร่วมในการรับรู้การวางแผนและการประเมินผลของแผนงานหรือโครงการต่างๆ ร่วมกับ ควรสรรหา หรือจัดหาเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีความสามารถในเรื่องนี้ให้เป็นผู้ชี้แจ้งความสำคัญร่วมกับภาครัฐ เอกชน และคณะสงฆ์ จัดโครงการอบรม สัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลที่สำคัญต่างๆ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับพื้นที่ของตนได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
ดาวน์โหลด |