บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของบุคลากรสายสนับสนุน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) (๒) เพื่อศึกษาทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ของบุคลากรสายสนับสนุน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น(ศึกษาศาสตร์) (๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมกับทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ของบุคลากรสายสนับสนุน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) จำนวนทั้งสิ้น ๑๐๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติพรรณนา ใช้สถิติความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) ใช้ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ ) สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) ใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า
๑) บุคลากรสายสนับสนุนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
๒) บุคลากรสายสนับสนุนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) มีการใช้ทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
๓) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมกับทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ของบุคลกรสายสนับสนุน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์)
๓.๑ การปฏิบัติงานตามหลักสังควัตถุธรรม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ของบุคลากร สายสนับสนุน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
๓.๒ การปฏิบัติงานตามหลักสังควัตถุธรรม ด้านทาน ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ของบุคลากร สายสนับสนุน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
ดาวน์โหลด |