บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารวัดตามหลักพุทธธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารวัดตามหลักพุทธธรรมของเจ้าอาวาสโดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลและ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารวัดตามหลักพุทธธรรมใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research)โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๔๐๐ ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interview) ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) จำนวน ๘รายโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารวัดตามหลักพุทธธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยองทั้ง ๖ ด้านตามหลักสาราณียธรรม ประกอบด้วย(๑) ด้านเมตตากายกรรม (๒) ด้านเมตตาวจีกรรม (๓) ด้านเมตตามโนกรรม (๔) ด้านสาธารณโภคี (๕) ด้านสีลสามัญญตา และ (๖)ด้านทิฏฐิสามัญญตา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน
๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารวัดตามหลักพุทธธรรมของเจ้าอาวาสในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล (พระสงฆ์กับคฤหัสถ์) พบว่าในภาพรวม พระสงฆ์มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกับคฤหัสถ์โดยด้านเมตตากายกรรม ด้านเมตตาวจีกรรม ด้านสาธารณโภคีและด้านทิฏฐิสามัญญตาพบว่าพระสงฆ์มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกับคฤหัสถ์ส่วนด้านเมตตามโนกรรมและด้านสีลสามัญญตา พบว่าพระสงฆ์มีความคิดเห็นแตกต่างกับคฤหัสถ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ ๐.๐๕
๓. ปัญหาอุปสรรคส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวกับพระลูกวัดมีความประพฤติที่ไม่สุภาพ ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเองเห็นแก่ตัวข้อเสนอแนะคือ เจ้าอาวาสควรเป็นแบบอย่างที่ดีมีความเมตตา และแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี
ดาวน์โหลด
|